ส่อง 6 เทรนด์ Digital Transformation มาแรงแห่งปี 2022

เทรนด์ Digital Transformation

Digital Transformation – นาทีนี้โลกกำลังจับตามองกฎเกณฑ์ต่างๆ มากมายที่เปลี่ยนแปลงไปในยุคโควิด-19 ซึ่งเรียกได้ว่าเป็นยุคที่ “โลกเป็นดิจิทัลมากขึ้น” เทคโนโลยีที่หลากหลายเข้ามามีบทบาทสำคัญในการทำงานและการติดต่อสื่อสารของผู้คน รวมทั้งโลกของธุรกิจและอุตสาหกรรมต่างๆ กำลังใช้ความพยายามในการปรับตัวให้เข้ากับวิถีใหม่เพื่อให้สามารถแข่งขันได้อย่างแข็งแกร่งในสรภูมิที่ดุเดือด วันนี้เรามาติดตามสาเหตุที่การเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัล สำคัญต่ออนาคตของธุรกิจและองค์กรต่างๆ พร้อมส่องเทรนด์ที่กำลังมาแรงของการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลในปีนี้กันครับ

Digital Transformation คืออะไร?

Digital Transformation คืออะไร

เดิมทีย้อนกลับไปราว 4 – 5 ปี ที่ผ่านมา ดิจิทัล ทรานส์ฟอร์เมชัน เป็น สิ่งที่มีการพูดถึงกันอย่างกว้างขวาง แต่สิ่งที่ทำให้ประเด็นนี้กลับมามีน้ำหนักมากขึ้นอีกครั้งอย่างก้าวกระโดด คือ การระบาดครั้งใหญ่ของ Covid-19 ในแบบที่ไม่มีใครคาดคิด เป็นเหตุให้หลายองค์กรธุรกิจจำเป็นต้องเร่งมือบูรณาการเทคโนโลยีดิจิทัลให้เข้ากับทุกมิติของการทำงาน ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในวิธีการทำงานทั้งกระบวนการหลังบ้านรวมถึงปฏิสัมพันธ์กับลูกค้า ตลอดจนการเปลี่ยนแปลงด้านวัฒนธรรมองค์กรและบุคลากรเลยทีเดียว ซึ่งหากพูดถึง มิติสำคัญของประเด็นนี้ เราสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 หัวข้อหลัก ได้แก่ Digitization และ Digitalization ดังนี้ 

  • Digitization

คือ การเปลี่ยนกระบวนการในการทำงานแบบ Analog ให้มีความเป็นดิจิทัลมากขึ้น หนึ่งในตัวอย่างที่อธิบายได้ชัดเจน คือ การเปลี่ยนวิธีเก็บเอกสารจากที่เป็นกระดาษจำนวนมากในตู้เอกสาร ไปเป็นเอกสารรูปแบบดิจิทัลในระบบคลาวด์แทน เป็นต้น

  • Digitalization

คือ  การนำเอาเทคโนโลยีมาใช้เพื่อปรับเปลี่ยนรูปแบบในการทำธุรกิจ (Business Model) และกระบวนการต่างๆ (Process) ในการทำงาน

เหตุผลที่ Digital Transformation สำคัญต่อธุรกิจ

เทรนด์ Digital Transformation

การเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัล คือ สิ่งที่จำเป็นสำหรับทุกธุรกิจ ตั้งแต่ขนาดเล็กไปจนถึงระดับองค์กร อ้างอิงได้จากการประชุมอภิปราย บทความ หรือการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับการที่ธุรกิจสามารถแข่งขันในขณะที่โลกกลายเป็นดิจิทัลมากขึ้น ซึ่งการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลของธุรกิจนั้นเป็นกระบวนการที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา และเพื่อให้ทันต่อความเปลี่ยนแปลงนี้ บริษัทและองค์กรต่างๆ จำเป็นต้องตามติดเทรนด์ล่าสุดและนวัตกรรมที่จะเกิดขึ้นเพื่อนำมาซึ่งประโยชน์สูงสุดต่อองค์กร ต่อไปนี้คือประโยชน์สำคัญบางประการของการเปลี่ยนแปลงสู่วิถีใหม่นี้

  • ลดต้นทุนอันเป็นผลมาจากการประหยัดเวลาในกระบวนการ
  • กระจายอำนาจการผลิต โดยอำนวยความสะดวกในการเคลื่อนย้ายและการสื่อสารทางไกล

  • ปรับปรุงประสิทธิภาพการดำเนินงานและผลผลิต

  • เปิดประตูสู่โอกาสทางธุรกิจ และแหล่งรายได้ใหม่ ทำให้สามารถสร้างผลิตภัณฑ์และบริการใหม่ๆ

  • เพิ่มความเร็วในการตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของอุปสงค์ในตลาด

  • สร้างความได้เปรียบในการแข่งขันให้กับบริษัท โดยสามารถเพิ่มคุณภาพของผลิตภัณฑ์ที่ผลิตได้

  • ขับเคลื่อนวัฒนธรรมแห่งนวัตกรรม เตรียมบริษัทให้พร้อมรับมือกับการหยุดชะงัก

  • ปรับปรุงการบูรณาการ และการทำงานร่วมกันภายในโดยอำนวยความสะดวกในการสื่อสารระหว่างแผนก

  • ช่วยให้การตัดสินใจในการทำธุรกิจแม่นยำมากขึ้น ด้วยการวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่หรือข้อมูลเชิงลึก (ฺBig Data)

เทรนด์ Digital Transformation มาแรง

เทรนด์ Digital Transformation

ซึ่งเทรนด์ ของการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลที่น่าจับตามอง ทั้งเทคโนโลยี และรูปแบบของการทำงานที่น่าสนใจในปีนี้ ได่แก่

1. เทคโนโลยีคลาวด์ (Cloud Technology)

หากจะว่าไปเทคโนโลยีคลาวด์ได้ถือกำเนิดมาหลายปีแล้ว  แต่ในที่สุดมันเริ่มมาได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในยุคนี้ บริษัทและองค์กรต่างๆ กำลังเปลี่ยนการเก็บรวบรวมข้อมูลภายในองค์กรเกือบทั้งหมดไปอยู่ในบริการคลาวด์ ซึ่งกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลครั้งใหญ่สำหรับธุรกิจทั่วโลก เทคโนโลยีคลาวด์ได้เปลี่ยนแปลงวิธีการดำเนินธุรกิจ ทำให้บริษัทต่างๆ สามารถเข้าถึงข้อมูลจากทุกที่ในโลกได้ตลอดเวลา สิ่งนี้ช่วยให้พนักงานทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยสามารถทำงานร่วมกันในแต่ละโปรเจกต์โดยไม่ต้องเดินทางหรือใช้จ่ายเงินกับไปกับโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ เช่น การเดินทาง การกินอยู่ เป็นต้น นอกจากนี้การประมวลผลด้วยเทคโนโลยีคลาวด์ยังช่วยให้องค์กรสามารถจัดเก็บข้อมูลจำนวนมากได้อย่างปลอดภัย และสามารถเข้าถึงจากระยะไกลได้ง่ายขึ้นเมื่อจำเป็น

2. รูปแบบการทำงานแบบไฮบริด (Hybrid Work Model)

เมื่อโลกเข้าสู่วิถีใหม่ หรือ New Normal  ก็เหมือนเป็นจุดเริ่มต้นของการเปลี่ยนแปลงกระบวนทัศน์ที่สำคัญมาสู่วิธีการทำงานของผู้คน องค์กรจำเป็นต้องคล่องตัวและยืดหยุ่นในการปรับตัวให้เข้ากับยุคสมัยที่เปลี่ยนไป โดยเฉพาะเมื่อเกิดโรคระบาดที่ส่งผลกระทบด้านลบโดยตรงต่อผู้คนจำนวนมหาศาลทั่วโลก จึงก่อให้เกิดแนวคิดเกี่ยวกับการทำงานแบบไฮบริด (Hybrid Work Model) ซึ่งพนักงานสามารถเลือกที่จะทำงานจากที่บ้านหรือที่ทำงานได้ตามความสะดวก ผลการสำรวจโดย Gallup บริษัทให้คำปรึกษาด้านการวิจัยเปิดเผยว่า พนักงาน 54% ที่ทำงานในออฟฟิศส่งเสียงว่าพวกเขาต้องการแบ่งเวลาระหว่างการทำงานที่บ้านและในสำนักงาน  มากไปกว่านั้นยังพบว่ารูปแบบการทำงานแบบไฮบริดนั้นยังช่วยให้พนักงานสามารถทำงานได้มีประสิทธิผลสูงสุดไม่ว่าจะเป็นช่วงเช้า บ่าย หรือช่วงดึก

3. การลงทุนที่มากขึ้นใน AI และ Machine Learning

การลงทุนที่มากขึ้น ใน AI หรือ ปัญญาประดิษฐ์ รวมทั้ง Machine Learning และซอฟต์แวร์ระบบอัตโนมัติ (RPA) ที่ขับเคลื่อนด้วย AI กำลังกลายเป็นกระแสหลักในปีนี้เมื่อ AI เริ่มขับเคลื่อนเครื่องมือทางการตลาดและการขายมากขึ้น จึงกระตุ้นให้นักการตลาดจำนวนไม่น้อยหันมาเริ่มใช้เทคโนโลยีเหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งของกลยุทธ์ของการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัล ซึ่งจากผลการสำรวจในปี 2564 พบว่า 76% ขององค์กรให้ความสำคัญกับ AI และ Machine Learning มากกว่าโซลูชันไอทีอื่นๆ

4. การจัดการธุรกิจที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูล (Data-Driven Business Management)

เมื่อบริษัทใช้วิธี “ขับเคลื่อนด้วยข้อมูล” หมายความว่า บริษัทจะทำการตัดสินใจเชิงกลยุทธ์ตามการวิเคราะห์และการตีความข้อมูล แนวทางที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูลช่วยให้บริษัทต่างๆ ตรวจสอบและจัดระเบียบข้อมูลโดยมีเป้าหมายในการให้บริการลูกค้าและผู้บริโภคได้ดียิ่งขึ้น การใช้ข้อมูลเพื่อขับเคลื่อนการดำเนินการจะช่วยให้องค์กรสามารถกำหนดบริบทหรือปรับแต่งการส่งข้อความไปยังผู้มีแนวโน้มจะเป็นลูกค้าและลูกค้าปัจจุบัน สำหรับแนวทางที่เน้นลูกค้าเป็นศูนย์กลางได้มากขึ้น

5. การลงทุนในการวิเคราะห์เชิงพยากรณ์ (Investing in Predictive Analytics)

ด้วยการวิเคราะห์ข้อมูลจากช่วงเวลาในอดีตและปัจจุบัน และเชื่อมโยงกับปัจจัยทางเศรษฐกิจ สภาพแวดล้อมทางธุรกิจ และรูปแบบพฤติกรรมผู้บริโภค เครื่องมือวิเคราะห์เชิงคาดการณ์ที่ทันสมัยช่วยให้ธุรกิจสามารถคาดการณ์อนาคตได้อย่างน่าเชื่อถือ ช่วยให้ฝ่ายบริหารสามารถคาดการณ์แนวโน้มที่จะเกิดขึ้น เตรียมกลยุทธ์ที่สามารถนำไปปฏิบัติได้ และพร้อมที่จะตอบสนองต่อความต้องการของตลาดได้อย่างทันท่วงที

6. การเพิ่มขึ้นของระบบอัตโนมัติ (Hyperautomation)

Hyperautomation ถือเป็นหนึ่งในประโยชน์สูงสุดของการนำเทคโนโลยีเข้ามาประยุกต์ใช้กับการทำงาน เนื่องจากช่วยให้บริษัทสามารถลดปริมาณงานของพนักงาน เช่น งานที่ต้องทำซ้ำๆ เดิมๆ ซึ่งถือเป็นการสูญเสียทรัพยากรคนและเวลาโดยใช่เหตุ นอกจากนี้ยังมีส่วนช่วยในการปรับปรุงกระบวนการ และเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการทำงาน Hyperautomation ถือเป็นหนึ่งในดาวรุ่งพุ่งแรงของแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลในปี 2565 ด้วยการใช้เทคโนโลยี ปัญญาประดิษฐ์(AI) แมชชีนเลิร์นนิง(ML) และ RPA ซึ่งเป็นซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมที่ช่วยให้ธุรกิจสร้างหุ่นยนต์มาทำงานในลักษณะงานซ้ำ ๆ รูปแบบเดิม ๆ แทนคน เพื่อวิเคราะห์และจัดการกระบวนการทางธุรกิจให้ดียิ่งขึ้น

แหล่งที่มา :

https://devrix.com/tutorial/

https://treehousetechgroup.com/

https://nexusintegra.io/

บทความแนะนำ

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *