ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา เวทีการตลาดของเหล่าอินฟลูเอนเซอร์ หรือผู้มีอิทธิพลทางความคิดต่อกลุ่มผู้บริโภคถูกจำกัดให้เฉพาะคนดังและบล็อกเกอร์เพียงไม่กี่คนเท่านั้น แต่ตอนนี้ดูเหมือนว่าเราได้เห็นผู้มีอิทธิพลในโซเชียลมีเดียเพิ่มขึ้น หลากหลายมากยิ่งขึ้น ทำให้แบรนด์ต่างๆ ต้องทำการศึกษาประเภทของ อินฟลูเอนเซอร์ มาร์เก็ตติ้ง และทำความเข้าใจกับลูกค้าให้ลึกซึ้งมากยิ่งขึ้น ในการจะจ้าง Influencer มาร่วมแคมเปญการตลาด รวมไปถึงการวิเคราะห์ว่า Influencer แบบไหนที่เหมาะสมกับคุณ
ซึ่งในบทความนี้เราจะพาทุกคนไปทำความรู้จักให้มากยิ่งขึ้นว่าจริงๆ แล้วการทำ Influencer Marketing คืออะไร Influencer มีกี่ประเภท และจำเป็นต่อธุรกิจของคุณหรือไม่
Influencer Marketing คืออะไร
อินฟลูเอนเซอร์ มาร์เก็ตติ้ง คือประเภทของการตลาดบนโซเชียลมีเดีย ที่ใช้การรับรองและการกล่าวถึงผลิตภัณฑ์จากผู้มีอิทธิพล บุคคลที่มีการติดตามในโซเชียลที่เป็นผู้เชี่ยวชาญเฉพาะเจาะจงในด้านใดด้านหนึ่ง ซึ่งการตลาดแบบ Influencer จะทำงานได้ดีจากได้รับความไว้วางใจสูงจากจำนวนเหล่าผู้ติดตามของพวกเขา และคำแนะนำจากพวกเขาทำหน้าที่เป็นรูปแบบหนึ่งของการพิสูจน์ทางสังคมต่อผู้มีโอกาสเป็นลูกค้าของแบรนด์ของคุณ
Influencer Marketing ช่วยธุรกิจของคุณอย่างไร
1. Influencer Marketing ช่วยสร้างการรับรู้แบรนด์
ช่วยขยายช่องทางในการเข้าถึงแบรนด์ของคุณในตลาด และทำให้ผู้ใช้โซเชียลมีเดียสามารถเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับแบรนด์ของคุณ เรื่องราวของคุณ และผลิตภัณฑ์หรือบริการที่คุณนำเสนอ
2. Influencer Marketing ช่วยสร้างความน่าเชื่อถือให้แบรนด์ของคุณ
หากธุรกิจของคุณใช้อินฟลูเอนเซอร์ที่มีชื่อเสียงและน่าเชื่อในอุตสาหกรรมในการโปรโมตแบรนด์จะสามารถสร้างการรับรู้และการจดจำแบรนด์ได้ ซึ่งจะช่วยในเรื่องของความน่าเชื่อถือแบรนด์อีกด้วย ซึ่งในเรื่องของการสร้างความไว้วางใจเป็นสิ่งสำคัญของธุรกิจในปัจจุบัน
3. Influencer Marketing ช่วยให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายง่ายและกระตุ้นการตัดสินใจซื้อ
ผู้บริโภคในปัจจุบันมองหาอินฟลูเอนเซอร์เพื่อขอคำแนะนำหรือรีวิวจากพวกเขามากขึ้นเรื่อยๆ ว่าควรซื้อผลิตภัณฑ์หรือบริการใด เนื่องจากโซเชียลมีเดียในปัจจุบันมีความโดดเด่นมากขึ้น จึงมีศักยภาพในการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายของคุณ หากแบรนด์ของคุณต้องการเพิ่มยอดขายการทำการตลาด Influencer สามารถช่วยให้คุณเพิ่มยอดขายได้อย่างมาก
4. Influencer Marketing ให้ผลประโยชน์ระยะยาว
การทำการตลาด Influencer ก็เหมือนกับการทำ SEO ที่เป็นการทำงานในระยะยาว ซึ่งอาจไม่เห็นตัวเลขยอดขายเพิ่มขึ้นอย่างมากจากโพสต์ของอินฟลูเอนเซอร์เพียงโพสต์เดียว ซึ่งเป็นเรื่องของการสร้างความสัมพันธ์ ความไว้วางใจระหว่างแบรนด์และผู้บริโภคของคุณต้องใช้เวลาเช่นเดียวกับเหล่า อินฟลูเอนเซอร์ และการตลาดแบบอินฟลูเอนเซอร์
ประเภทของ Influencer ในโซเชียลมีเดีย
ประเภทของ Influencer ในโซเชียลมีเดียนั้นขึ้นอยู่กับขนาดของผู้ชมและระดับความสัมพันธ์ของแบรนด์เป็นหลัก แต่จำนวนผู้ติดตามที่สูงขึ้นไม่ได้แปลว่าอิทธิพลในระดับที่สูงขึ้นเสมอไป ดังนั้นสิ่งสำคัญคือต้องเข้าใจถึงความแตกต่างของ Influencer ในแต่ละประเภท และผลประโยชน์ที่พวกเขาสามารถมอบให้กับแบรนด์ได้
1. Celebrities หรือ คนดัง
ผู้ที่มีผู้ติดตามมากกว่า 1 ล้านคนถือเป็นคนดังในโซเชียลมีเดีย คุณอาจเคยได้ยินชื่อเหล่านี้ว่า “Mega-Influencers” โดยทั่วไปแล้วพวกเขามีชื่อเสียงในด้านอาชีพนักแสดง นักร้อง นักกีฬา หรือเน็ตไอดอล Influencer กลุ่มนี้มีความพิเศษตรงที่พวกเขาได้พัฒนาและเพิ่มผู้ติดตามบนโซเชียลมีเดียมากที่สุดหากคุณกำลังมองหาการเข้าถึงผู้ชมทั่วไปจำนวนมาก Celebrities เป็นทางออกที่ดีที่สุด แม้ว่าจะมาพร้อมกับเรทราคาที่หนักหน่วง หนึ่งโพสต์อาจมีราคาสูงถึงหลายแสนบาท
บริษัท B2C ระดับองค์กรส่วนใหญ่ได้รับประโยชน์สูงสุดจากการทำงานร่วมกับคนดังในการโปรโมตโซเชียลมีเดียเป็น ส่วนใหญ่เนื่องจากแบรนด์ขนาดใหญ่เหล่านี้มีงบประมาณในการทำการตลาดจำนวนมาก ซึ่งทำให้การโปรโมทแบรนด์ออกไปยังผู้ชมได้เป็นขนาดกว้าง
2. Macro Influencers
Macro Influencer กลุ่มคนที่มีผู้ติดตามตั้งแต่ 100K ถึง 1 ล้านคน โดยทั่วไปแล้วพวกเขามีชื่อเสียงในโลกออนไลน์และรวมถึงบล็อกเกอร์ Vloggers พอดคาสต์ และความรู้สึกทางสังคมที่โดดเด่น เนื่องจากพวกเขามักเป็นผู้สร้างคอนเทนต์ พวกเขาจึงเป็นผู้เชี่ยวชาญในการใช้แพลตฟอร์มโซเชียลอย่างสร้างสรรค์ และสร้างคอนเทนต์ที่มีคุณภาพซึ่งจะช่วยสร้างการจดจำแบรนด์และเพิ่มการมองเห็น
ผู้มีอิทธิพลในโซเชียลมีเดียประเภทนี้จะยังคงมีเรทราคาสูงในการทำงาน แต่จะมีเรทราคาที่ต่ำกว่าคนดังหรือนักกีฬาที่มีชื่อเสียง
3. Micro Influencers
Micro Influencer มีผู้ติดตามระหว่าง 1K-100K พวกเขาไม่ได้เป็นคนดังตั้งแต่แรก แต่ได้สร้างชื่อเสียงให้ตนเองเป็นแหล่งคำแนะนำที่น่าเชื่อถือในเฉพาะด้าน อินฟลูเอนเซอร์ระดับไมโครมีสายสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นและน่าเชื่อถือในช่องทางโซเชียลของพวกเขา โดยการสร้างชุมชนที่แน่นแฟ้นและการมีส่วนร่วมอย่างมาก
เนื่องจากผู้คนในกลุ่มมีส่วนร่วมและโต้ตอบกันสูงพวกเขาจึงมักมีโอกาสมากในการสื่อสารสิ่งที่แบรนด์ต้องการบอกออกไปอย่างตรงจุด
4. พนักงาน
การทำงานที่บริษัททำให้เกิดความเข้าใจในธุรกิจที่ไม่เหมือนใครและการแชร์บนโซเชียลมีเดียสามารถเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพสำหรับแบรนด์ในการสร้างความไว้วางใจกับผู้ที่มีโอกาสเป็นลูกค้า พวกเขาคือคนที่มีส่วนร่วมโดยตรงกับสิ่งที่ทำให้บริษัทนั้นพิเศษและกระตุ้นพนักงานในฐานะผู้มีอิทธิพลในโซเชียลมีเดียสามารถเพิ่มการเข้าถึง การมีส่วนร่วม และโอกาสในการขาย
การส่งเสริมการแบ่งปันทางโซเชียลซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมของบริษัทเป็นกลยุทธ์ในการเติบโตของธุรกิจที่เข้าใจถึงพลังของการตลาดแบบปากต่อปาก และการใช้พนักงานในฐานะแบรนด์แอมบาสเดอร์ แบรนด์ B2B มีแนวโน้มที่จะเฟื่องฟูกับผู้มีอิทธิพลของพนักงาน แต่บริษัท B2C ก็ได้รับประโยชน์เช่นกัน
5. ลูกค้า
การตลาดแบบ Referral เป็นแบบที่สามารถทำให้กลุ่มเป้าหมายเปลี่ยนเป็นลูกค้าได้มากที่สุดในช่องทางการตลาดแบบต่างๆ ซึ่งมันคือการที่ใครบางคนอ้างอิงถึงผลิตภัณฑ์หรือบริการที่พวกเขาชอบให้กับเพื่อน และครอบครัวของพวกเขา ซึ่งทำให้ผู้บริโภคเกิดความเชื่อมั่นในความคิดเห็นของผู้ใช้งานจริงมากกว่า
เมื่อผู้คนกำลังมองหาคำแนะนำสำหรับผลิตภัณฑ์หรือบริการ พวกเขาไว้วางใจลูกค้าที่ใช้งานจริงและได้รับการตอบรับเชิงบวก และการอ้างอิงก็สร้างมูลค่าเพิ่มขึ้นเมื่อเวลาผ่านไปเช่นกัน
บทวิจารณ์และการรีวิวบนโซเชียลมีเดียมีอิทธิพลอย่างมากต่อผู้ซื้อ และพวกเขาสามารถแบ่งปันวิธีที่ผลิตภัณฑ์ช่วยแก้ปัญหาหรือคำแนะนำในการใช้งานอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด
6. Brand Fans
แม้ว่าพวกเขาจะไม่ใช่ลูกค้าจริง แต่พวกเขาแชร์และมีส่วนร่วมกับแบรนด์ต่างๆ บนโซเชียลมีเดีย เพราะพวกเขาชื่นชมวิสัยทัศน์ การตลาด และผลิตภัณฑ์ บางทีพวกเขายังไม่สามารถซื้อผลิตภัณฑ์ได้หรืออยู่ในอุตสาหกรรมอื่น แต่พวกเขาชื่นชมสิ่งที่แบรนด์ทำและสนับสนุน โดยการพูดถึงมันบนโซเชียลมีเดีย
แฟนๆ ของแบรนด์ช่วยเชื่อมโยงผู้ชมต่างๆ ที่อาจไม่ใช่ผู้ซื้อผลิตภัณฑ์ แต่ในอนาคตพวกเขาอาจกลายเป็นลูกค้า และช่วยเพิ่มการมองเห็นแบรนด์ในเครือข่ายที่กว้างขึ้น
เมื่อทุกคนทำความเข้าใจกับ การตลาดแบบ Influencer มากขึ้นและได้รู้จักกับอินฟลูเอนเซอร์ประเภทต่างๆ น่าจะเห็นภาพมากขึ้นกันว่ากลุ่มคนแบบไหนที่ตอบโจทย์กับแบรนด์ของคุณ และสามารถช่วยเหลือแบรนด์ของคุณให้สามารถพิชิตเป้าหมายทางการตลาดได้
แหล่งที่มา