Marketing Plan – คุณเป็นคนหนึ่งที่อยากเริ่มต้นวางแผนการตลาดให้กับทีมและบริษัทหรือไม่? หากคุณไม่รู้ว่าควรเริ่มต้นอย่างไร ต้องมีข้อมูลอะไรบ้าง? บทความนี้มีคำตอบให้ค่ะ แน่นอนว่าทุกช่วงใกล้สิ้นปีมักจะมีการพูดคุยถึงแผนการตลาดในปีหน้า เพื่อทำให้เป้าหมายทางธุรกิจนั้นเป็นจริง จึงต้องมีการวางแผนเส้นทางที่คุณจะสร้างแคมเปญ เป้าหมาย และทิศทางการเติบโตของทีม ซึ่งหากไม่มีสิ่งเหล่านี้ คุณอาจพบกับความยุ่งเหยิง หรือความยากลำบากในการคำนวณ Marketing Budget สำหรับโครงการ การจ้างงาน ตลอดจนการจ้างทีมงามภายนอกในตลอดหนึ่งปี การวางแผนการตลาดนั้นมีรูปแบบที่หลากหลายแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับอุตสาหกรรมและเป้าหมายของทีมซึ่งวันนี้ Talka ได้รวบรวมรูปแบบพื้นฐานที่คุณสามารถนำไปปรับใช้ได้เอาไว้ให้ในบทความนี้แลัวค่ะ
สารบัญ
องค์ประกอบของแผนการตลาด

องค์ประกอบของ Marketing Plan
แผนการตลาดนั้นจะเจาะลึกในอุตสาหกรรมที่คุณอยู่ ไม่ว่าคุณจะเป็นธุรกิจ B2C หรือ B2B ต่อไปนี้คือองค์ประกอบของทุกแผนการตลาดที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งประกอบไปด้วย
1. ข้อมูลภาพรวมของบริษัท

ในแผนการตลาด ข้อมูลภาพรวมของบริษัทมักจะรวมถึงข้อมูลสำคัญต่อไปนี้
1. ชื่อบริษัท : ชื่อเต็มและชื่อย่อของบริษัท
2. ที่อยู่ของบริษัท : ที่อยู่สำนักงานใหญ่และที่ตั้งอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
3. ประวัติความเป็นมา : ประวัติของบริษัท และเหตุการณ์สำคัญ
4. พันธกิจและวิสัยทัศน์ : คำชี้แจงว่าบริษัทมีจุดมุ่งหมายอะไรและต้องการบรรลุเป้าหมายอะไร
5. ผลิตภัณฑ์หรือบริการ : รายละเอียดเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการที่บริษัทนำเสนอ
6. ขนาดของธุรกิจ : จำนวนพนักงาน รายได้ และขนาดของธุรกิจอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องข้อมูลเหล่านี้จะช่วยให้เข้าใจบริษัทได้อย่างชัดเจนและสามารถวางแผนการตลาดที่เหมาะสมกับธุรกิจนั้นๆ ได้
2. การวิเคราะห์ลูกค้า

Marketing Plan กับการวิเคราะห์ลูกค้า
การวิเคราะห์ลูกค้าเป็นส่วนสำคัญของแผนการตลาด โดยมีองค์ประกอบหลักๆ ดังนี้
1. การกำหนดวัตถุประสงค์และตั้งสมมติฐาน
การวิเคราะห์ลูกค้าควรเริ่มต้นด้วยการกำหนดวัตถุประสงค์ที่ชัดเจนและตั้งสมมติฐานเกี่ยวกับลูกค้าและพฤติกรรมของพวกเขา ซึ่งช่วยให้การวิเคราะห์มีทิศทางและประสิทธิภาพมากขึ้น
2. การเลือกวิธีการวิเคราะห์
มีหลายวิธีในการวิเคราะห์ลูกค้า เช่น
- การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ : เพื่อทำความเข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างผลิตภัณฑ์และพฤติกรรมซื้อของลูกค้า
- การวิเคราะห์แบบไขว้ : ใช้ในการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต่างๆ เช่น เพศและความถี่ในการซื้อ
- การวิเคราะห์แบบจัดกลุ่ม (Customer Segmentation) : แบ่งลูกค้าออกเป็นกลุ่มตามลักษณะเฉพาะ เช่น พฤติกรรม ประชากรศาสตร์
3. การรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล
การรวบรวมข้อมูลที่จำเป็น เช่น ข้อมูลการขาย ข้อมูลลูกค้า และผลการสำรวจ เป็นสิ่งสำคัญในการวิเคราะห์ จากนั้นจึงวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อทำความเข้าใจลักษณะและพฤติกรรมของลูกค้า
4. การตีความผลลัพธ์และการดำเนินการ
ผลลัพธ์ของการวิเคราะห์ควรนำไปใช้ในการกำหนดกลยุทธ์ทางการตลาดและปรับปรุงแผนการขาย เพื่อให้สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ
5. การแบ่งส่วนลูกค้า (Customer Segmentation)
การแบ่งส่วนลูกค้าเป็นกลุ่มตามปัจจัยต่างๆ เช่น
- Behavioral Segmentation : ตามพฤติกรรมและความคาดหวัง
- Demographic Segmentation : ตามปัจจัยประชากรศาสตร์ เช่น อายุ, เพศ
- Psychographic Segmentation : ตามคุณลักษณะทางจิตวิทยา เช่น ค่านิยม, ความสนใจ
- Firmographic Segmentation : สำหรับธุรกิจต่อธุรกิจ โดยพิจารณาจากขนาดและอุตสาหกรรมของธุรกิจ
การแบ่งส่วนลูกค้าเหล่านี้ช่วยให้สามารถกำหนดกลุ่มเป้าหมายที่ชัดเจนและวางแผนการตลาดที่เหมาะสมกับแต่ละกลุ่มได้
6. คุณภาพข้อมูลและทีมวิเคราะห์
คุณภาพของข้อมูลมีความสำคัญอย่างมากในการวิเคราะห์ลูกค้า และทีมวิเคราะห์ควรประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญที่มีทักษะในการจัดการข้อมูลและวิเคราะห์เชิงลึก
3. การวิเคราะห์คู่แข่ง
Marketing Plan กับการวิเคราะห์คู่แข่ง
ในการทำธุรกิจเราคงหนีไม่พ้นเรื่องของคู่แข่ง และแน่นอนว่าผู้ซื้อมีทางเลือกในการค้นหาคนที่สามารถแก้ไขปัญหาให้กับพวกเขาได้ ดังนั้นในการวิจัยการตลาดคุณควรพิจารณาถึงคู่แข่งว่า อะไรคือสิ่งที่พวกเขาทำได้ดี และอะไรคือช่องว่างที่คุณสามารถเติมเต็มได้ ซึ่งอาจรวมไปถึง
- การวางตำแหน่งทางการตลาด
- ส่วนแบ่งการตลาดในอุตสาหกรรม
- สิ่งที่คุณสามารถมอบให้ลูกค้าได้เพิ่มเติม
- ราคา
4. การวิเคราะห์ SWOT

Marketing Plan กับการวิเคราะห์ SWOT
ในแผนการตลาดข้อมูลภาพรวมของบริษัทยังรวมไปถึงการวิเคราะห์ SWOT ซึ่งประกอบไปด้วยจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และความเสี่ยงที่อาจเกิดกับธุรกิจ ซึ่งข้อมูลใน SWOT ส่วนใหญ่มาจากการวิเคราะห์ตลาดในข้างต้นและกลยุทธ์การทำการตลาดในหัวข้อถัดไป
5. กลยุทธ์การตลาด

Marketing Plan กับกลยุทธ์การตลาด
กลยุทธ์การตลาดของคุณใช้ข้อมูลที่อยู่ในหัวข้อข้างต้น เพื่ออธิบายว่าบริษัทของคุณจะทำการตลาดอย่างไร อะไรคือสิ่งที่ธุรกิจของคุณสามารถมอบให้กับลูกค้าได้แบบที่คู่แข่งของคุณไม่ได้นำเสนอให้กับลูกค้า ซึ่งในแผนการตลาดฉบับเต็มจะประกอบไปด้วย “7 Ps “
- ผลิตภัณฑ์ (Product)
- ราคา (Price)
- สถานที่ (Place)
- การส่งเสริมการขาย (Promotion)
- คน (People)
- กระบวนการ (Process)
- สิ่งแวดล้อมทางกายภาพ (Physical Evidence)
6. งบประมาณ

Marketing Plan กับงบประมาณ
งบประมาณในที่นี้หมายถึงจำนวนเงินที่บริษัทได้จัดสรรให้กับทีมการตลาดเพื่อดำเนินการตามแผนการและเป้าหมายที่ได้ระบุเอาไว้ในข้างต้นซึ่งขึ้นอยู่กับว่าคุณมีรายจ่ายเท่าไหร่ คุณควรพิจารณางบประมาณจากค่าใช้จ่ายหลักๆ ที่คุณจะต้องจ่าย ตัวอย่างเช่น
- การจ้างงาน ดิจิตอลเอเจนซี่ ในการทำการตลาด หรือผู้ให้บริการอื่นๆ
- ซอฟต์แวร์การตลาด
- การทำโฆษณา และการจัดโปรโมชั่น
- กิจกรรมต่างๆ
7. ช่องทางการตลาด

Marketing Plan กับช่องทางการตลาด
หนึ่งในองค์ประกอบของแผนการตลาดประกอบไปด้วยช่องทางการตลาด แม้ว่าบริษัทของคุณจะโปรโมตผลิตภัณฑ์โดยการโฆษณา แต่ช่องทางการตลาดของคุณเป็นพื้นที่ในการเผยแพร่เนื้อหาที่ให้ข้อมูล และความรู้กับผู้ซื้อของคุณ สร้างโอกาสในการขาย และเพิ่มการรับรู้แบรนด์ของคุณหากคุณต้องการเผยแพร่คอนเทนต์บนโซเชียลมีเดีย นี้คือพื้นที่ที่ดีในการพูดคุยซึ่งเราควรใช้ช่องทางการตลาดให้เป็นหนึ่งในองค์ประกอบของแผนการตลาด เพื่อวางแผนช่องทางไหนที่คุณต้องการเผยแพร่เนื้อหาออกไป คุณจะใช้ช่องทางนี้ไปเพื่ออะไร และวิธีที่คุณจะวัดความสำเร็จของคุณบนเครือข่ายนี้จุดประสงค์ในส่วนนี้คือเพื่อแสดงรายละเอียดให้กับทีมทั้งภายใน และภายนอกแผนกการตลาดได้ทราบว่าช่องทางการตลาดเหล่านี้จะช่วยให้ธุรกิจเติบโตได้อย่างไร
8. การประมาณการทางการเงิน

แผนการตลาด กับการประมาณการทางการเงิน
เมื่อทราบงบประมาณและวิเคราะห์ช่องทางการตลาดที่คุณต้องการลงทุนแล้ว คุณควรจะสามารถวางแผนได้ว่าจะใช้งบประมาณเท่าใดในการลงทุน โดยใช้กลยุทธ์ตาม ROI ที่คาดหวัง จากนั้นคุณจะสามารถคิดประมาณการทางการเงินสำหรับปีได้
ขั้นตอนการสร้างแผนการตลาด
1.การวิเคราะห์สถานการณ์

ก่อนที่คุณจะเริ่มต้นแผนการตลาด คุณต้องรู้สถานการณ์ปัจจุบันของคุณก่อน จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และความเสี่ยงที่อาจเกิด ซึ่งการวิเคราะห์ SWOT ขั้นพื้นฐานเป็นขั้นตอนแรกของการสร้างแผนการตลาดนอกจากนี้คุณควรมีความเข้าใจในตลาดปัจจุบันด้วย คุณเปรียบเทียบกับคู่แข่งของคุณอย่างไร? โดยการวิเคราะห์คู่แข่งจะช่วยให้คุณเข้าใจสถานการณ์ปัจจุบันของตลาดกับคู่แข่ง ลองนึกถึงผลิตภัณฑ์อื่นๆ ว่ามีอะไรดีกว่าสินค้าของคุณ นอกจากนี้ ให้พิจารณาถึงจุดอ่อนของคู่แข่งด้วยว่าพวกเขายังขาดอะไร? และคุณสามารถเสนออะไรที่จะทำให้คุณได้เปรียบในการแข่งขันนี้ การตอบคำถามเหล่านี้ได้ จะช่วยให้คุณทราบได้ว่าลูกค้าต้องการอะไร ซึ่งจะนำเราไปสู่ขั้นตอนที่สอง
2.กำหนดกลุ่มเป้าหมายของคุณ

เมื่อคุณเข้าใจตลาดและสถานการณ์ของบริษัทคุณดีขึ้นแล้ว อย่าลืมว่ากลุ่มเป้าหมายของคุณคือใครผ่านการทำ Buyer Personas ซึ่งประกอบไปด้วยข้อมูลประชากร เช่น อายุ เพศ และรายได้ อย่างไรก็ตาม ยังรวมถึงข้อมูลทางจิตศาสตร์ เช่น Pain Point หรือปัญหาที่เคยพบและเป้าหมายชีวิต อะไรคือแรงผลักดันของพวกเขา? มีปัญหาอะไรบ้างที่ผลิตภัณฑ์หรือบริการของคุณสามารถแก้ไขได้? เมื่อคุณเขียนข้อมูลเหล่านี้แล้ว มันจะช่วยคุณในการกำหนดเป้าหมาย ซึ่งจะนำเราไปสู่ขั้นตอนที่สาม
3.การตั้งเป้าหมาย (SMART Goals)

การตั้งเป้าหมายยังช่วยในการนำไปตั้ง KPI การปรับปรุง ROI ของคุณได้ ซึ่งหลังจากที่คุณได้ทราบสถานการณ์ปัจจุบันและรู้จักกลุ่มเป้าหมายของคุณแล้ว คุณสามารถเริ่มกำหนดเป้าหมาย SMARTของคุณได้เป้าหมาย SMART มีความเฉพาะเจาะจง เป็นสิ่งที่สามารถวัดได้ บรรลุได้ มีความสอดคล้องกับเป้าหมายธุรกิจ และมีเวลาจำกัด ซึ่งหมายความว่าเป้าหมายทั้งหมดของคุณควรมีความเฉพาะเจาะจง และกำหนดกรอบเวลาที่คุณต้องการทำให้สำเร็จ ตัวอย่างเช่น เป้าหมายของคุณอาจเป็นการเพิ่มผู้ติดตาม Instagram ของคุณ 15% ในสามเดือน สิ่งนี้ควรมีความเกี่ยวข้องและบรรลุได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับเป้าหมายทางการตลาดโดยรวมของคุณ นอกจากนี้ เป้าหมายนี้มีความเฉพาะเจาะจง วัดได้ และมีเวลาจำกัด ก่อนที่คุณจะเริ่มกลยุทธ์ใดๆ คุณควรเขียนเป้าหมายของคุณ จากนั้นคุณสามารถเริ่มวิเคราะห์ว่ากลวิธีใดที่จะช่วยให้คุณบรรลุเป้าหมายนั้นได้ ซึ่งจะนำเราไปสู่ขั้นตอนที่สี่
4.วิเคราะห์กลยุทธ์ของคุณ

ตอนนี้คุณได้เขียนเป้าหมายของคุณ โดยพิจารณาจากกลุ่มเป้าหมายและสถานการณ์ปัจจุบัน คุณจะต้องดูว่ากลยุทธ์ใดที่ช่วยให้คุณบรรลุเป้าหมาย นอกจากนี้ ช่องและรายการดำเนินการที่เหมาะสมควรเน้นอะไรตัวอย่างเช่น หากเป้าหมายของคุณคือการเพิ่มผู้ติดตาม Instagram ของคุณ 15% ในสามเดือน กลยุทธ์ของคุณอาจรวมถึงการแจกของรางวัล ตอบกลับทุกความคิดเห็น และโพสต์สามครั้งบน Instagram ต่อสัปดาห์เมื่อคุณรู้เป้าหมายแล้ว การระดมสมองกลยุทธ์วิธีต่างๆ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายก็เป็นเรื่องง่ายมากขึ้นอย่างไรก็ตาม ในขณะที่เขียนกลยุทธ์ของคุณก็ต้องอย่าลืมคำนึงถึงงบประมาณ ซึ่งจะนำเราไปสู่ขั้นตอนที่ห้า
5.กำหนดงบประมาณของคุณ

ก่อนที่คุณจะเริ่มใช้แนวคิดใดๆ ที่คุณได้มาจากขั้นตอนข้างต้นที่กล่าวมาทั้งหมด คุณต้องทราบงบประมาณของคุณเสียก่อน ตัวอย่างเช่น กลยุทธ์ของคุณอาจรวมถึงการโฆษณาบนโซเชียลมีเดีย ซึ่งหากคุณไม่มีงบประมาณสำหรับการโฆษณาคุณก็ไม่สามารถบรรลุเป้าหมายได้ ดังนั้นอย่าลืมที่จะแบ่งจัดสรรงบประมาณสำหรับการตลาดแยกออกในแต่ละหมวดหมู่ เพราะนอกเหนือจากการโฆษณาแล้วคุณอาจต้องดูในเรื่องของพื้นที่โฆษณาอีกด้วย
แหล่งอ้างอิง