ในยุคที่โลกของธุรกิจและแบรนด์ต่างๆ ต้องขับเคลื่อนและต่อสู้กันด้วยเนื้อหาและข้อมูลมากมายมหาศาล เป็นธรรมดาที่ย่อมต้องมีการแข่งขันเพื่อแย่งชิงพื้นที่บนโลกออนไลน์ที่เป็นช่องทางหลักในการรับสารของผู้คนในยุคดิจิทัล การได้มาซึ่งลูกค้าและผู้ติดตามแบรนด์ จึงกลายเป็นเป้าหมายสำคัญ ที่เสมือนภารกิจของแทบจะทุกธุรกิจอย่างปฏิเสธไม่ได้ และในเมื่อมีการแข่งขันสูง ดิจิตอลเอเจนซี่ หรือ Digital Marketing Agency ที่เป็นเหมือนตัวแทนหรือส่วนหนึ่งของทีมการตลาดในแต่ละธุรกิจจึงมีบทบาทสำคัญในการแข่งขันนี้ วันนี้ Talka จะพาไปสอดส่องบทบาทหน้าที่ของผู้ที่ทำงานในดิจิตอลเอเจนซี่ พร้อมอธิบายเหตุผลที่ ดิจิตอลเอเจนซี่ มีส่วนสำคัญต่อการขับเคลื่อนธุรกิจในโลกวิถีใหม่ ที่จำเป็นต้องวัดคุณภาพกันด้วยประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการตลาดออนไลน์หรือ Digital Marketing ครับ
ดิจิตอลเอเจนซี่ คืออะไร?
Gartner บริษัทวิจัยและให้คำปรึกษาระดับโลกได้ให้คำจำกัดความของ “ดิจิทัลเอเจนซี่” หรือ “Digital Marketing Agency” เอาไว้ว่า คือ ตัวแทนในการทำ แผนการตลาด ในเชิงกลยุทธ์และสร้างสรรค์ ที่เน้นประสบการณ์ของผู้ใช้งานบนอุปกรณ์การสื่อสารสมัยใหม่ ผ่าน เว็บไซต์ แอปพลิเคชัน ตลอดจนแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียต่างๆ โดยมีหน้าที่รวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลพร้อมทั้งให้บริการสร้างสรรค์เนื้อหาและข้อเสนอต่างๆ เพื่อส่งเสริมการขายของธุรกิจ อีกทั้งยังช่วยสำรวจแหล่งของโอกาสใหม่ๆ ในการเติบโตทางธุรกิจโดยเฉพาะบนช่องทางออนไลน์ รวมถึงการกระจายความเสี่ยงของตลาดและแนวคิดต่างๆ ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ที่สำคัญยังเป็นกลุ่มคนที่มีทักษะในการให้คำปรึกษาด้านการเปลี่ยนแปลงทางธุรกิจเพื่อช่วยขยายธุรกิจหลักสู่โลกดิจิทัลได้อย่างแข็งแกร่ง เรียกได้ว่ามีการให้บริการที่ครอบคลุมทุกเรื่องของการตลาดออนไลน์ ก็ว่าได้ ซึ่งโดยทั่วไป บริการของ ดิจิตอลเอเจนซี่ สามารถแบ่งคร่าว ๆ ได้ดังต่อไปนี้
เหตุผลที่ ดิจิตอลเอเจนซี่ สำคัญต่อธุรกิจในโลกของการตลาดวิถีใหม่
-
ดิจิตอลเอเจนซี่ ช่วยวางกลยุทธ์ด้านการตลาด
ปฏิเสธไม่ได้ว่ากลยุทธ์ หรือ แผนการตลาด คือหัวใจสำคัญของความสำเร็จของทุกธุรกิจ ในดิจิตอลเอเจนซี่มีทีมงานผู้เชี่ยวชาญในการวางแผนกลยุทธ์ด้านการตลาดแบบมืออาชีพ ที่สามารถตอบโจทย์ธุรกิจในการวางกลยุทธ์ให้แต่ละแบรนด์ได้อย่างเหมาะสมทั้งนี้ก็เพื่อประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุด ทั้งการตั้งเป้าหมายทางการตลาด การกำหนดกลุ่มเป้าหมายให้ชัดเจน การเลือกสื่อหรือช่องทางในการทำการตลาด ความเข้าใจ Sales Funnel และ Customer Journey ตลอดจนแผนการเงินและงบประมาณ เป็นต้น
-
Facebook Instagram Tiktok Marketing
ยุคที่โซเชียลมีเดียครองเมืองเช่นทุกวันนี้ การทำการตลาดในหลากหลายรูปแบบที่แต่ละแพลตฟอร์มรองรับ ทั้ง Facebook Ads Instagram Ads หรือ Tiktok Ads ถือเป็นอีกหนึ่งทางเลือกอันยอดเยี่ยมที่สามารถสร้างความได้เปรียบให้กับธุรกิจ โดยเฉพาะการทำโฆษณาผ่านช่องทางโซเชีลมีเดียเหล่านี้ ด้วยผู้ใช้งานในแต่ละแพลตฟอร์มนั้นมีจำนวนมหาศาล ซึ่งถ้านับเฉพาะแค่ในประเทศไทย ก็มีรวมๆ กันมากกว่า 100 ล้านบัญชี เลยทีเดียว
-
Google Marketing
Google Marketing หรือ การทำการตลาดบนช่องทาง Google ที่เลือกทำได้หลากหลายวิธี ทั้งการซื้อพื้นที่หน้าแรกบน Search Engine ตลอดจนการเพิ่มประสิทธิภาพในกลไกการสืบค้นคำของเว็บไซต์ หรือ การทำ SEO แบบออร์แกนิค (ไม่เสียค่าใช้จ่าย) และการซื้อพื้นที่ลงโฆษณา (GDN) บนเว็บไซต์ต่างๆ ที่เป็นเครือข่ายกับทาง Google เป็นต้น ซึ่งทั้งหมดล้วนมีส่วนสำคัญในการได้มาและรักษาไว้ซึ่งลูกค้าทั้งเก่าและใหม่ นอกจากนี้ Google ยังมีเครื่องมือด้านการตลาดมากมายที่จะช่วยให้การทำการตลาดเกิดประสิทธิภาพสูงสุด
-
Line Marketing
ทุกวันนี้แพลตฟอร์ม Line นับว่าเป็นหนึ่งในโซเชียลมีเดียยอดนิยมของคนไทย ที่สำคัญยังมีฟีเจอร์ที่เข้ามาสนับสนุนให้แบรนด์สามารถสื่อสารการตลาดไปยังกลุ่มคนจำนวนมากได้ เช่น Line OA ซึ่งเป็นช่องทางให้แบรนด์สามารถส่งเนื้อหาการตลาดไปยังสมาร์ทโฟนหรือแท็บเล็ตของผู้ใช้งานจำนวนมากที่กดติดตาม Line Official Account ของแต่ละแบรนด์ได้พร้อมๆ กัน หรือจะเป็นการทำโฆษณาไปยังกลุ่มลูกค้าที่รู้จักแบรนด์อยู่แล้ว (Retargeting) นอกจากนี้ยังสามารถทำการตลาดผ่าน Line Sticker เพื่อสร้างการจดจำและรับรู้คาแรกเตอร์ของแบรนด์ต่อกลุ่มเป้าหมายได้เป็นอย่างดีอีกด้วย
-
Email Marketing
การสื่อสารการตลาดผ่านอีเมล หรือ Email Marketing ยังเป็นช่องทางในการทำการตลาดที่ยังคงถูกเลือกใช้งานอยู่ในปัจจุบัน แม้ในยุคที่แพลตฟอร์มการสื่อสารช่องทางอื่นพัฒนาอยู่ตลอดเวลา ทว่าความคลาสสิคของการรับส่งข่าวสารทางอีเมลยังไม่เสื่อมคลาย นอกจากนี้ การใช้บริการ Email Marketing ยังคงช่วยให้แบรนด์สามารถรักษาฐานลูกค้าขนาดใหญ่ ช่วยกระตุ้นยอดขาย เป็นช่องทางส่งข่าวสาร และช่วยสร้างการรับรู้ต่อกลุ่มเป้ามหายของธุรกิจได้ดีเสมอ ซึ่งทั้งหมดล้วนเป็นเหตุผลที่ Email Marketing ยังไม่หายไปจากสารบบของการทำการตลาดออนไลน์
-
Content Marketing
การสร้างคอนเทนต์ให้ตอบโจทย์ทางการตลาด เพื่อสร้างการรับรู้ และการตัดสินใจต่อกลุ่มเป้าหมาย คือ อีกหนึ่งหัวใจสำคัญของการทำการตลาดออนไลน์ในยุคนี้ ดังคำกล่าวที่เราอาจเคยได้ยินกันบ่อยๆ ว่า “Content is King” โดยเฉพาะเมื่อการทำ คอนเทนต์มาร์เก็ตติ้ง สามารถสื่อสารได้หลายแบบ ทั้ง บทความ วีดีโอ ภาพนิ่ง หรือการโพสต์ข้อมูลต่างๆ ทางแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย แค่ลำพังคอนเทนต์ประเภทบทความ (Long Form) ก็สามารถสร้างมูลค่าด้านการตลาดได้ ทั้งการทำ SEO หรือ Affiliate Marketing เป็นต้น ซึ่งในทีมงานดิจิตอลเอเจนซี่มีทีมคอนเทนต์ที่เชี่ยวชาญด้านสร้างเนื้อหาให้มีคุณค่าที่ตอบโจทย์ด้านการตลาดของแบรนด์หรือสร้างมูลค่าให้แก่ทุกธุรกิจได้เป็นอย่างดี
-
Influencer Marketing
ดารา ศิลปิน ตลอดจนผู้ที่มีชื่อเสียงในสังคม หรือ ที่ศัพท์ด้านการตลาดเรียกว่า Influencer เป็นบุคคลที่มีอิทธิพลต่อความคิดและการตัดสินใจของผู้บริโภคในยุคดิจิทัลค่อนข้างสูง ซึ่งทีมงานเอเจนซี่จะช่วยประสานงานในการทำการตลาดโดยใช้ทักษะในการติดต่อสื่อสารและความสัมพันธ์ที่ดีกับคนเหล่านี้มาช่วยเสริมพลังของการตลาด ด้วยกลยุทธ์ Influencer Marketing ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดแก่แบรนด์ ทั้งการช่วยเสริมสร้างภาพลักษณ์ สร้างการรับรู้ การโน้มน้าวใจที่นำไปสู่การตัดสินใจได้ในที่สุด
หน้าที่ของแต่ละตำแหน่งงานใน ดิจิตอลเอเจนซี่
ในบริษัท ดิจิตอลเอเจนซี่ นั้นมีการแบ่งความรับผิดชอบในหลายตำแหน่งหน้าที่ ซึ่งในแต่ละเอเจนซี่นั้นอาจแตกต่างกันออกไปบ้างในบางรายละเอียด แต่ต่อไปนี้ คือ รายละเอียดคร่าวๆ ของตำแหน่งและหน้าที่ความรับผิดชอบหลักๆโดยภาพรวมของผู้ที่ทำงานในดิจิตอลเอเจนซี่โดยเราสามารถแบ่งความรับผิดชอบได้ดังต่อไปนี้
-
Creative Director
หนึ่งในตำแหน่งที่มีบทบาทสำคัญอย่างมากในการตัดสินใจในภาพรวมของชิ้นงานต่างๆ ที่ทางทีมงาน ทั้ง Content Writer หรือ Graphic Designer ผลิตขึ้นมา เพื่อให้ตอบโจทย์ทางการตลาด และเป็นไปตามความต้องการของลูกค้าได้มากที่สุด เป็นผู้ที่มีประสบการณ์ในการใช้ความคิดสร้างสรรค์ที่รู้ซึ้งในวิธีการสร้างสมดุลระหว่างความคิดกับผลลัพธ์ เป็นเหมือนผู้สร้างวิสัยทัศน์ และเปิดโลกทางความคิดให้ผู้คนได้เสพเนื้อหาที่สดใหม่และมีคุณค่าอยู่ตลอดเวลา สามารถสร้างความแตกต่างในการนำเสนอความคิดสร้างสรรค์ได้เป็นอย่างดี
-
Strategic Planner / Media Planner
เป็นผู้ดูแลในภาพรวมของแคมเปญต่างๆ เป็นเหมือนหัวเรือสำคัญของทีม Digital Marketing รับผิดชอบในการวางแผน วางกลยุทธ์ทางการตลาด ตลอดจนทิศทางของการสื่อสาร การใช้สื่อในช่องทางต่างๆ ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดต่อแคมเปญในแต่ละโปรเจกต์ของแบรนด์ มีความช่างสังเกต คอยอัปเดตเทรนด์การตลาดใหม่ๆ อยู่ตลอดเวลาเพื่อนำเสนอทางเลือกให้ลูกค้าได้อย่างถูกต้องเหมาะสม ที่สำคัญคือมีความคิดสร้างสรรค์ที่ทำให้ผลงานต่างๆ มีความโดดเด่นสะดุดตาผู้บริโภค
-
Web Designer
เว็บดีไซน์เนอร์ คือ ผู้รับผิดชอบในการออกแบบรูปโฉม สีสัน เลย์เอาท์ หรือหน้าตาของเว็บเพจให้ออกมาสอดคล้องตามอัตลักษณ์และภาพลักษณ์ของแบรนด์ ทั้งยังต้องสร้างสมดุลระหว่างข้อจำกัดต่างๆ ของอุปกรณ์ที่ผู้บริโภคใช้งาน อาทิ การแสดงผลของเว็บไซต์ บนสมาร์ทโฟน หรือ แล็ปท็อป รวมถึง เบราว์เซอร์ และอุปสรรคทางเทคนิคอื่นๆ อีกมากมาย ที่มีผลต่อความคิดสร้างสรรค์ต่างๆ
เป็นผู้รับผิดชอบผลิตชิ้นงานกราฟิก จัดวางเลย์เอาท์ ของตัวหนังสือ และรูปภาพ โดยเฉพาะชิ้นงานแบบภาพนิ่ง ให้ตอบโจทย์ของแต่ละแคมเปญ หรือ คอนเซปต์ของแบรนด์ โดยหลักๆ แล้ว มักทำงานร่วมกับ ครีเอทีฟ และคนทำคอนเทนต์ เพื่อสร้างสรรค์ชิ้นงานต่างๆ ให้ออกมาตรงตามความคิดสร้างสรรค์
-
Motion Graphic Designer
เป็นผู้รับผิดชอบผลิตชิ้นงานกราฟิกที่เป็นภาพเคลื่อนไหวต่างๆ หรือ วีดีโอ ที่ใช้เผยแพร่ผ่านช่องทางออนไลน์ เป็นผู้เชี่ยวชาญในการวางคาแรคเตอร์ของภาพเคลื่อนไหวให้สามารถสื่อสารใจความสำคัญของคอนเทนต์ให้กลุ่มเป้าหมายรับรู้และเข้าใจ
-
Content Writer / Copywriter
เป็นผู้สร้างเนื้อหาที่ยอดเยี่ยมในส่วนของบทความ คำบรรยาย รายละเอียดต่างๆ ผ่านตัวหนังสือ ตลอดจนภาพนิ่ง และวีดีโอ ทำให้ผู้รับสาร หรือกลุ่มเป้าหมายสามารถเข้าใจเนื้อหาที่ต้องการถ่ายทอดได้ง่ายบนอุปกรณ์ต่างๆ แน่นอนว่าต้องเป็นผู้ที่มีความสามารถในการเขียน ภาษา การใช้คำ และการวางโครงเรื่องที่สามารถดึงดูดให้ผู้อ่านใช้ความคิดและมีอารมณ์ร่วมไปกับทุกถ้อยคำที่เลือกมาใช้ถ่ายทอดในเนื้อหาที่หลากหลายได้เป็นอย่างดี
-
Social Media Manager / Community Manager
เป็นตัวแทนของทีมในการบริหารจัดการการสื่อสารการตลาดผ่านช่องทางออนไลน์ทั้งหมดที่อยู่ในความรับผิดชอบ เป็นผู้ที่ต้องมีทักษะในการใช้งานแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย และ แอปพลิเคชันต่างๆ เป็นอย่างดี พร้อมทักษะในการบริหารจัดการ Performance ของเว็บไซต์ และ Account โซเชียลมีเดีย ต่างๆ เช่น Facebook Tiktok Twitter Instagram หรือ Linkedin เป็นต้น สามารถใช้เครื่องมือที่ช่วยในการวิเคราะห์คุณภาพของคอนเทนต์ที่เผยแพร่ผ่านช่องทางออนไลน์ต่างๆ ได้เป็นอย่างดี
-
SEO Specialist / SEO Executive
เป็นผู้เชี่ยวชาญด้าน กลไกการสืบค้นข้อมูลใน Search Engine ต่างๆ เช่น Google หรือ Bing เป็นต้น ทำงานอย่างใกล้ชิดกับทีมนักเขียนที่ต้องเขียนคอนเทนต์ โดยเฉพาะในรูปแบบ Long Form ซึ่งส่งผลต่ออันดับในการค้นหาโดยตรง เช่น บทความ หรือ บล็อค ต่างๆ ให้สอดคล้องกับระบบการจัดอันดับในการค้นหาคำ มีหน้าที่ช่วยไกด์ทีมนักเขียนในการวางโครงในการเขียนว่าต้องใช้คำแบบไหน เพื่อให้ระบบสืบค้นชื่นชอบเพื่อผลในการจัดอันดับในหน้าการสืบค้นที่น่าพอใจ นอกจากนี้ยังต้องทำหน้าที่วิเคราะห์ชิ้นงานต่างๆ ร่วมกับ Front-End Developer, Social Media Manager เพื่อตอบสนองความต้องการของระบบสืบค้นที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา
-
Ads Manager
ผู้จัดการด้านการซื้อโฆษณาบนแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียต่างๆ เป็นผู้รับผิดชอบในส่วนของ Paid Media ของแคมแปญ และ คอนเทนต์ทั้งหลายที่อยู่ในความรับผิดชอบ เป็นผู้ที่มีความเข้าใจในการใช้ เครื่องมือต่างๆ ที่หลากหลายในการใช้จ่ายเม็ดเงินซื้อโฆษณาในแต่ละแพลตฟอร์ม ทั้ง Facebook Tiktok Instagram หรือ Line เป็นต้น
-
Web Developer ( Front-End / Back-End )
ผู้เชี่ยวชาญในการสร้างและพัฒนาระบบของเว็บไซต์ ตลอดจนรับผิดชอบในการติดตามอัปเดตเทรนด์ของเทคโนโลยีที่เกี่ยวกับระบบประมวลผลเว็บไซต์ มีส่วนสำคัญในการส่งเสริม และสนับสนุนให้โปรเจกต์ต่างๆ เกิดขึ้นได้จริงตามความคิดสร้างสรรค์ แบ่งหน้าที่ย่อยได้ 2 แบบ ได้แก่ Front-End Developer เชี่ยวชาญในการพัฒนาโปรแกรมใน ส่วนหน้า หรือที่หลายคนเรียกติดปากว่า “หน้าบ้าน” ของเว็บไซต์ รวมทั้งแอปพลิเคชันบนมือถือ มีความเชี่ยวชาญในการใช้โค้ด HTML ,CSS หรือ JavaScript เพื่อเขียนโค้ดในการทำงาน และ Back-End Developer ซึ่งรับผิดชอบในส่วนโครงสร้างของเว็บไซต์ เขียนโค้ด และตรวจสอบการทำงานของโค้ด รวมถึงการจัดการจุดเชื่อมต่อสำหรับผู้อื่นที่ต้องการจัดการเนื้อหาของเว็บไซต์
-
Application Developer
-
Account Executive