Google Analytics – หากคุณเป็นคนนึงที่ใช้เว็บไซต์เป็นส่วนหนึ่งของการทำการตลาดออนไลน์ หนึ่งในเครื่องมือที่นักการตลาดหลายๆคนแนะนำให้ใช้และคุณไม่ควรพลาดนั้นก็คือ Google Analytics แต่แน่นอนว่าหลายคนเมื่อลองเปิดหน้ามาก็เกิดความสบสน ด้วยหน้าตาที่เต็มไปด้วยแถบต่างๆ ตัวเลขมากมาย แน่นอนว่าทุกคนที่เคยเริ่มต้นใช้งานก็คงประสบปัณหานี้มาก่อน
ดังนั้นในบทความนี้เราจะมาเริ่มต้นอธิบายกันว่า Google Analytics คืออะไร ข้อดี-ข้อเสีย รวมไปถึงการใช้งานของแถบต่างๆว่าแต่ละอันคืออะไร สามารถช่วยเราได้อย่างไร ติดตามได้เลยค่ะ
Google Analytics คือ อะไร?
Google Analytics คือ เครื่องมือวิเคราะห์ที่ให้ข้อมูลเชิงลึก ซึ่งคุณสามารถนำมาประกอบกับทำการ Web analytics หรือการพัฒนาประสิทธิภาพของเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชันของคุณ ซึ่งหลายคนอาจเรียกย่อๆว่า GA
โดยเครื่องมือนี้ทำงานผสมผสานรวมกับเครื่องมือทางการตลาด ผลิตภัณฑ์ และแพลตฟอร์มโฆษณาของ Google อย่าง Google Ads, Search Console และ Data Studio ทำให้เครื่องมือของ Google จึงเป็นตัวเลือกยอดนิยมสำหรับทุกคน
Web Analytics คืออะไร?
Web Analytics คือ กระบวนการวิเคราะห์พฤติกรรมของผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชมเว็บไซต์ การวิเคราะห์เว็บไซต์จะช่วยให้ธุรกิจสามารถดึงดูดและรักษาผู้เข้าชมเว็บได้มากขึ้น รวมไปถึงการดึงดูดกลุ่มคนใหม่ๆเข้ามาเพื่อทำการโปรโมทสินค้าหรือบริการ และเพิ่มยอดขายได้ในที่สุด
ข้อดี
- ไม่เสียค่าใช้จ่ายและทุกคนสามารถใช้งานได้
- สามารถใช้งานได้หลากหลายอุปกรณ์อย่างเช่น เว็บไซต์ แอปพลิเคชันมือถือ หรืออะไรก็ได้ที่สามารถเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต
- มี Google Analytics Academy ที่คุณสามารถเรียนคอร์สออนไลน์เพื่อศึกษาเรียนรู้ถึงการใช้ข้อมูลเชิงลึกบนแพลตฟอร์มได้
- คุณสามารถเชื่อมต่อบัญชี Google Analytics เข้ากับบัญชี Google Ads และ Google Search Console ของคุณได้
- คุณสามารถกำหนดเงื่อนไขได้เองในการสร้าง Goal ของเว็บไซต์เพื่อติดตามและวัดผลในการทำโฆษณาบนช่องทางออนไลน์ต่างๆของคุณ
- คุณสามารถสร้างรายงานที่กำหนดได้เองตามความต้องการของคุณ ด้วยวิธีนี้คุณสามารถติดตามข้อมูลแบบเฉพาะเจาะจงได้ โดยขึ้นอยู่กับอุตสาหกรรมของคุณ
ข้อเสีย
- ในการทำความเข้าความซับซ้อนของ Google Analytics คุณต้องเรียนรู้ภาษา คำศัพท์ต่างๆ ว่าแต่ละคำหมายถึงอะไร ซึ่งข้อมูลที่มีอยู่บนออนไลน์มีจำนวนมหาศาลจนอาจสร้างความสับสน และต้องใช้เวลานานสำหรับผู้ที่ไม่มีพื้นฐานในการวิเคราะห์ข้อมูล
- คุณอาจความรู้สึกสับสนด้วยข้อมูลที่ล้นหลามจนไม่รู้ต้องเริ่มจากตรงไหนก่อน ซึ่งบนแพลตฟอร์มประกอบไปด้วยแดชบอร์ด การตั้งค่า และตัวเลขมากมาย
- Google Analytics เวอร์ชันฟรีเหมาะกับผู้ใช้มือใหม่เกือบทุกคน แต่หากการเข้าชมเว็บของคุณสูงและคุณต้องการอัปเกรดเป็นเวอร์ชันพรีเมียมจะมีราคาที่สูงถึง 150,000 ดอลลาร์ หรือราวๆ 4,500,000 บาท
ภาพจาก : https://blog.hubspot.com/marketing/google-analytics
1.Real-Time
รายงานแบบเรียลไทม์จะแสดงภาพรวมจำนวนของผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์ของคุณในขณะนั้น รวมไปถึงแพลตฟอร์มโซเชียลที่พวกเขามา ซึ่งรายงานจะถูกแบ่งย่อยออกเป็นจำนวนหน้าที่มีการเปิดในแต่ละช่วงเวลา คุณสามารถดูได้ว่าผู้ชมของคุณมาจากที่ใด คำที่ติดอันดับต้นๆ และจำนวน Conversion ที่คุณได้รับ
การรายงานรูปแบบเรียลไทม์จะเป็นประโยชน์สำหรับเว็บไซต์ขนาดใหญ่ที่มีผู้เข้าชมหลายแสนคนหรือหลายล้านคนในแต่ละวัน ทำให้อาจจะไม่ได้ตอบโจทย์สำหรับเว็บไซต์ขนาดเล็กนัก
2.Audience
หนึ่งในรายงานที่เป็นประโยชน์อย่างมากที่คุณสามารถเข้าถึงข้อมูลกลุ่มเป้าหมายได้มากขึ้นจาก Google Analytics นั้นก็คือ Audience Reports หรือรายงานข้อมูลเกี่ยวกับผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์ โดยการแบ่งตามคุณลักษณะที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจและเป้าหมายของคุณ สิ่งนี้สามารถเป็นอะไรก็ได้ตั้งแต่ข้อมูลประชากรหลัก (เช่นสถานที่ตั้ง อายุ) ลูกค้าที่เคยเข้าเยี่ยมชมเว็บแล้วกลับมาอีกครั้งและอื่นๆ
คุณสามารถเข้าไปดูผลลัพท์แบบเจาะจงช่วงวันที่ได้ ทำให้คุณติดตามผู้ชมได้เจาะจงมากยิ่งขึ้น เช่น คุณสามารถติดตามผู้เยี่ยมชมที่เข้าชมหน้า Landing Page สำหรับผลิตภัณฑ์บนเว็บไซต์ของคุณ หลังจากนั้นสี่วันต่อมาได้กลับเข้ามาซื้อผลิตภัณฑ์ของคุณ
ทำให้ข้อมูลนี้จึงมีประโยชน์อย่างเหลือเชื่อสำหรับการทำการตลาดและต่อยอดต่างๆ เช่น การทำ Buyer Personas การเลือกหัวข้อที่ผู้เข้าชมเว็บไซต์ของคุณให้ความสนใจในบล็อกโพสต์ และการปรับแต่งรูปลักษณ์แบรนด์ให้เหมาะกับผู้ชมของคุณมากยิ่งขึ้น
3.Acquisition
Acquisition Report จะแสดงให้คุณเห็นว่าผู้ชมของคุณมาจากประเทศไหนและช่องทางไหนบนโลกออนไลน์ หากคุณพบว่าบล็อกโพสต์ใดที่มีผู้เข้าชมจำนวนมาก คุณสามารถค้นหาได้ว่าผู้เยี่ยมชมบล็อกโพสต์นั้นมาจากที่ใดในโลกออนไลน์ ตัวอย่างเช่น หลังจากที่คุณค้นหาเหตุผลแล้วคุณอาจพบว่าบล็อกโพสต์นั้นถูกโพสต์ในกลุ่ม Facebook ที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาทำให้เกิดการมีส่วนร่วมกับโพสต์จำนวนมาก
รายงานนี้มีความสำคัญอย่างมากและสามารถช่วยคุณกำหนด ROI ที่เฉพาะเจาะจงของแคมเปญการตลาดได้ ตัวอย่างเช่น หากคุณเพิ่งเริ่มแคมเปญโฆษณาบน Facebook คุณสามารถดูจำนวนผู้เข้าใช้งานเว็บไซต์ของคุณที่มาจากช่องทาง Facebook ดังนั้นข้อมูลนี้จะช่วยทำให้คุณรู้ว่าควรทำแคมเปญการตลาดบนโซเชียลมีเดียและการทำ SEO ในอนาคตอย่างไร
4.Behavior
Behavior Report จะแสดงให้คุณเห็นว่าผู้ใช้ของคุณมีความเคลื่อนไหวและโต้ตอบกับเว็บไซต์ของคุณอย่างไร ยิ่งไปกว่านั้นจะแสดงจำนวน Pageviews (การเปิดดูหน้าเว็บ) ของคุณว่าผู้ใช้เปิดหน้าไหนบ้าง จำนวนกี่ครั้ง และจำนวน Pageviews รวมทั้งเว็บไซต์ว่ามีเท่าไหร่
รายละเอียดเหล่านี้จะแสดงให้คุณเห็นว่าผู้ใช้งานของคุณใช้เวลาส่วนใหญ่ไปที่ใดบนเว็บไซต์ ยิ่งไปกว่านั้นคุณจะดู Behavior Flow พฤติกรรมการใช้ว่าพวกเขาคลิกไปที่หน้าใดบ้าง และนี้ภาพตัวอย่างเส้นทางที่ผู้เข้าชมเว็บไซต์ของคุณใช้บ่อยที่สุด
สิ่งนี้จะติดตามผู้ใช้จากหน้าแรกที่มักเข้าชมไปจนถึงหน้าสุดท้ายที่ผู้คนเข้าชมก่อนออกจากเว็บไซต์ไป ซึ่งเป็นวิธีที่ดีในการตรวจสอบสมมติฐานของคุณถึงวิธีที่ผู้เข้าชมเว็บไซต์ของคุณ หากพวกเขาไม่ได้ไปตามเส้นทางที่เราต้องการ เช่นคุณต้องการให้พวกเขาไปที่หน้า Landing Page หรือหน้าผลิตภัณฑ์ แต่ไม่ได้เป็นเช่นนั้น คุณสามารถปรับแต่งเว็บไซต์ของคุณอีกครั้งเพื่อช่วยให้ผู้ชมของคุณไปยังหน้าที่คุณต้องการ
Behavior Overview ช่วยให้รายละเอียดที่ดีของแต่ละหน้า แสดงถึงจำนวนการดูแต่ละหน้า เวลาเฉลี่ยที่ผู้เยี่ยมชมใช้ รวมไปถึง Unique page views จำนวนผู้เข้าชมหน้าเว็บไซต์แบบไม่ซ้ำกัน สิ่งนี้มีประโยชน์มากโดยเฉพาะอย่างยิ่งหากคุณทำการตลาด SEO สำหรับไซต์ของคุณ
5.Conversions
ในรายงานนี้คุณจะได้เห็นผลลัพท์ในการทำการตลาดทั้งหมดของคุณ แสดงถึงจำนวนเงินที่คุณได้รับจากการเปลี่ยนผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ของคุณให้เป็นลูกค้าหรือกลุ่มผู้ที่มีโอกาสในการซื้อ
มีรายงานที่แตกต่างกัน 3 แบบในแท็บ Conversion:
- Goals : นี่คือข้อมูลที่สรุปว่าเป้าหมายและ Conversion ของคุณทำงานได้ดีเพียงใด คุณสามารถดูจำนวนความสำเร็จพร้อมมูลค่าเงินของแต่ละรายการ ทำให้คุณสามารถใช้เพื่อหาจำนวนมูลค่าและ ROI ของแคมเปญของคุณได้
- Ecommerce : จะช่วยคุณได้หากคุณมีร้านค้าอีคอมเมิร์ซบนเว็บไซต์ของคุณ ซึ่งจะแสดงยอดขายผลิตภัณฑ์ กระบวนการชำระเงิน และสินค้าคงคลัง
- Multi-Channel Funnels : ทำให้คุณมองเห็นการทำการตลาดในแต่ละช่องทางอย่าง โซเชียลมีเดีย หน้า Landing Page และการทำงานของโฆษณาที่เปลี่ยนจากผู้เข้าเยี่ยมชมทั่วไปให้กลายเป็นลูกค้า ตัวอย่างเช่น ลูกค้าอาจซื้อสินค้าหลังจากพบเว็บไซต์ของคุณใน Search engine อย่างไรก็ตามพวกเขาอาจรู้จักแบรนด์ของคุณหลังจากที่เห็นคุณบนฟีดโซเชียลมีเดีย ดังนั้นรายงานจะทำให้คุณได้เรียนรู้พฤติกรรมเหล่านั้น
สรุป
เครื่อง Google Analytics อาจเป็นเครื่องมือที่ต้องอาศัยการทำเข้าความเข้าใจเยอะหน่อยแต่รับรองว่าเมื่อคุณเริ่มเข้าใจแล้วเครื่องมือตัวนี้จะสามารถช่วยเหลือคุณได้เป็นอย่างมาก ในการทำตลาด การคำนวน ROI สำหรับการทำแคมเปญการตลาด ที่สำคัญคือการพัฒนาเว็บไซต์ของคุณให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น สามารถตอบโจทย์ผู้ใช้งานได้เป็นอย่างดี จนเพิ่มยอดขายให้กับแบรนด์ของคุณในที่สุด
แหล่งอ้างอิง
https://blog.hubspot.com/marketing/google-analytics
https://searchbusinessanalytics.techtarget.com/definition/Web-analytics
https://blog.littledata.io/2017/03/22/pros-and-cons-of-using-google-analytics/
https://www.medialounge.co.uk/news/pros-cons-google-analytics/
https://www.searchenginejournal.com/complete-guide-google-analytics/263087/
https://blog.hootsuite.com/how-to-set-up-google-analytics/#How_to_set_up_Google_Analytics_in_5_simple_steps