Branding 101 : EP.1 การทำ Branding คืออะไร สำคัญกับธุรกิจของคุณอย่างไร

what-is-branding

ไม่ว่าคุณกำลังสร้างธุรกิจ หรือกำลังดำเนินธุรกิจอยู่และเล็งเห็นว่าการสร้างแบรนด์ที่แข็งแรงจะช่วยให้ธุรกิจของคุณสามารถโดดเด่นและเอาชนะผู้อื่นในตลาดได้ บทความนี้เราจะมาขยายความกันถึงการสร้างแบรนด์ตั้งแต่ก้าวแรกว่าแบรนด์คืออะไร มีความสำคัญอย่างไร คุณต้องรู้อะไรก่อนบ้างก่อนที่จะเริ่มต้น ตามไปดูกันเลยค่ะ

แบรนด์คืออะไร?

มีคำจำกัดความของ “แบรนด์” นับล้านคำ หลายครั้งเมื่อผู้คนพูดถึง “แบรนด์” พวกเขาหมายถึงเครื่องหมาย โลโก้ ที่จับต้องได้บนสิ่งของต่างๆ เพื่อระบุถึงธุรกิจที่ผลิตสินค้านั้น แต่แบรนด์เป็นมากกว่าเครื่องหมายทางกายภาพ มันเป็นเครื่องหมายทางอารมณ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งประสบการณ์ทางอารมณ์, ความแข็งแกร่ง หรือความอ่อนโยนลงผ่านทุกปฏิสัมพันธ์กับธุรกิจนั้น

แบรนด์เป็นสิ่งที่ผู้คนคิด รู้สึก และพูดเกี่ยวกับธุรกิจของคุณ ซึ่งแตกต่างจากการตลาดเป็นสิ่งที่คุณพูดเกี่ยวกับธุรกิจของคุณ

branding-is

กลยุทธ์การสร้างแบรนด์คืออะไร?

ตามที่กูรูด้านการสร้างแบรนด์ Marty Neumeier ได้กล่าวไว้ว่ากลยุทธ์ของแบรนด์คือ “แผนสำหรับการพัฒนาแบรนด์อย่างเป็นระบบซึ่งสอดคล้องกับกลยุทธ์ทางธุรกิจ”

กลยุทธ์แบรนด์ช่วยให้คุณเข้าใจว่าคุณเป็นใครและทำหน้าที่เป็นพิมพ์เขียวเพื่อช่วยให้คุณสื่อสารได้ดี

กระบวนการกลยุทธ์แบรนด์เราแบ่งออกเป็นสามส่วน เริ่มจากหัวใจของแบรนด์ (แก่นแท้ของแบรนด์ของคุณ) การสื่อสารข้อความเกี่ยวกับแบรนด์ (วิธีที่คุณพูดถึงว่าคุณเป็นใคร) ไปจนถึงเอกลักษณ์ของแบรนด์ (ที่สามารถแสดงออกมาและมองเห็นได้ด้วยตา) องค์ประกอบเหล่านี้ช่วยให้คุณมีกลยุทธ์แบรนด์เต็มรูปแบบ 

ทำไมคุณถึงต้องการกลยุทธ์การสร้างแบรนด์?

why-you-need-branding

เมื่อคุณไม่รู้ว่าตัวเองเป็นใคร แบรนด์ของคุณสร้างขึ้นมาทำไม คุณเชื่อในอะไร หรือพยายามทำอะไรให้สำเร็จ ธุรกิจของคุณก็จะประสบปัญหา ตั้งแต่การสื่อสารกับลูกค้าไปจนถึงการรักษาพนักงาน การขาดกลยุทธ์แบรนด์ทำให้เกิดปัญหาได้ในทุกระดับขององค์กร และนี้คือปัญหาที่คุณอาจพบเมื่อไม่มีการวางกลยุทธ์เรื่องแบรนด์ 

  • คุณไม่เข้าใจวัตถุประสงค์ วิสัยทัศน์ พันธกิจ หรือค่านิยมของคุณ ดังนั้นคุณจึงทำการตลาด และทำธุรกิจที่ไม่สามารถสะท้อนถึงตัวตนที่แท้จริงของธุรกิจได้
  • คุณไม่มีแผนการตลาดที่ชัดเจน แต่คุณหวังว่าสิ่งที่คุณทำจะได้ผล
  • ทีมของคุณเกิดความสับสน และความขัดแย้ง ทำให้พนักงานขาดการมีส่วนร่วมและความสนใจในแบรนด์เพราะไม่รู้ว่าทำไปเพื่ออะไร
  • คุณไม่มีการสื่อสารหรือสิ่งที่อธิบายถึงแบรนด์ของคุณได้อย่างชัดเจน ดังนั้นคอนเทนต์ของคุณจึงมีแนวโน้มที่จะไม่สอดคล้องกัน และแย่ที่สุดคอนเทนต์อาจขัดแย้งกันเอง ด้วยเหตุนี้ จึงเป็นเรื่องยากที่จะดึงดูดผู้ที่มีค่านิยมเดียวกับคุณ (ลูกค้า พนักงาน ฯลฯ)
  • คุณไม่เข้าใจตัวตนของแบรนด์ ทำให้คุณไม่สามารถระบุตำแหน่งของตนเองในตลาดได้

สิ่งที่ต้องรู้ก่อนเริ่มต้นสร้างแบรนด์

need-to-know-before-create-branding

หากคุณกำลังเริ่มต้นทำกลยุทธ์แบรนด์ มีข้อมูลสำคัญสองประการที่คุณจำเป็นต้องทราบล่วงหน้าก่อนที่จะเริ่มต้น ซึ่งก็คือ

1) คุณอยู่เพื่อใคร

  • คุณกำลังพยายามขายให้ใคร?
  • พวกเขาต้องการอะไร?
  • หากความต้องการของพวกเขาไม่ได้รับการตอบสนองจะเป็นอย่างไร?

ในการสร้างกลยุทธ์แบรนด์ที่ช่วยให้คุณเชื่อมต่อกับผู้คนได้อย่างแท้จริง คุณจำเป็นต้องรู้ว่าคุณกำลังขายให้ใคร การรู้ว่าพวกเขาเป็นใครและการที่คุณกำลังพยายามให้บริการพวกเขา สามารถนำความชัดเจนมาสู่ตัวตนของคุณ เช่น หัวใจของแบรนด์ของคุณ และวิธีที่คุณสื่อสารกับพวกเขา

2) คุณกำลังต่อสู้กับใคร

  • ใครบ้างที่คุณต้องแย่งส่วนแบ่งทางการตลาดด้วย?
  • คุณจะแข่งขันกับใครเพื่อดึงความสนใจ?
  • พวกเขาโดดเด่นกว่าคุณอย่างไร?

นี้เป็นข้อมูลอันล้ำค่าที่จะช่วยให้คุณระบุตัวตนได้ว่าคุณคือใคร และสิ่งไหนที่ไม่ใช่ตัวตนของคุณ คุณเหมาะสมหรือโดดเด่นอย่างไร และคุณจะสื่อสารความแตกต่างผ่านกลยุทธ์แบรนด์ได้อย่างไร

ทีมแบบไหนที่คุณต้องการในการสร้างแบรนด์ ?

team-to-build-brand

คุณไม่สามารถสร้างกลยุทธ์แบรนด์ได้ด้วยตัวคนเดียว คุณต้องมีทีมแบรนด์ เพื่อสร้างสรรค์ แก้ไข และทำให้สามารถใช้ได้จริงในทุกระดับขององค์กร หากไม่มีทีมที่ได้รับมอบหมายนี้ งานเหล่ามักจะถูกมองข้ามไป

โชคดีที่คุณไม่จำเป็นต้องจ้างคนจำนวนมากเพื่อสร้างทีมแบรนด์ของคุณ คุณสามารถมีทีมสองคนได้ ตราบใดที่ทั้งสองคนสามารถทำหน้าที่สำคัญเหล่านี้ได้

5 บทบาทที่คุณต้อใช้ในการดำเนินกลยุทธ์แบรนด์

1.ผู้ดูแลแบรนด์

วัตถุประสงค์ : ประสานแบรนด์และเป้าหมายธุรกิจเข้าด้วยกัน

รับผิดชอบ 

  • เชื่อมต่อช่องว่างระหว่างแบรนด์และธุรกิจ
  • สื่อสารกับผู้บังคับบัญชา
  • ดูแลการตลาดภาพรวม

2.ผู้นำในการสร้างสรรค์

วัตถุประสงค์ : รักษาเอกลักษณ์ของแบรนด์ บุคคลคนนี้มักเป็นคนเดียวกับผู้ดูแลแบรนด์

รับผิดชอบ 

  • ดูแลและบังคับใช้แนวทางของแบรนด์ รวมถึงการสื่อสารของแบรนด์และเอกลักษณ์ทางภาพ
  • ให้อำนาจทีมงานนำแนวทางไปปฏิบัติอย่างถูกต้อง

3.ผู้นำการตลาด

วัตถุประสงค์ : ประสานการทำการตลาดกับกลยุทธ์แบรนด์เข้าด้วยกัน

รับผิดชอบ 

  • สร้างกลยุทธ์การตลาด
  • ดูภาพรวมของการสร้างคอนเทนต์
  • ประสานงานทีมกับทรัพยากรที่มีอยู่

4.ผู้ดูแลวัฒนธรรมในกองค์กร

วัตถุประสงค์ : ปลูกฝังวัฒนธรรมที่สะท้อนถึงคุณค่าของแบรนด์

รับผิดชอบ 

  • ช่วยองค์กรโปรโมทคุณค่าของแบรนด์เพื่อดึงดูดผู้คนที่มากความสามารถมาร่วมสร้างแบรนด์

5.ผู้นำในการสื่อสาร

วัตถุประสงค์ : แบ่งปั่นความรู้ของแบรนด์

รับผิดชอบ

  • ข้อมูลเอกสาร
  • ให้ความรู้แก่ทุกคนที่อาจจำเป็นต้องรู้ข้อมูลนั้นไม่ว่าจะเป็นพนักงานใหม่หรือ CEO

 

สรุป

การสร้างแบรนด์เริ่มต้นจากรากฐานที่แข็งแรงก่อนนั้นก็คือ การที่คุณมองเห็นอย่างชัดเจนว่าการมีอยู่ของแบรนด์คุณสามารถตอบโจทย์ผู้คนได้อย่างไรบ้าง อะไรคือจุดเด่นและสิ่งที่คุณแตกต่าง อะไรคือสิ่งที่คุณยึดมั่น ทุกอย่างเหล่านี้จะสื่อสารออกไปยังผู้คนอื่นๆ และคือสิ่งที่ผู้คนจะพูดถึงธุรกิจของคุณ ซึ่งเรายังมีบทความอื่นๆ ที่จะเจาะลึกถึงการสร้างแบรนด์อีก ฝากติดตามกันด้วยนะคะ

 

แหล่งที่มา

https://www.columnfivemedia.com/how-to-create-a-brand-strategy#how-to-build

บทความแนะนำ

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *