เปิดเทคนิค กระตุ้นอารมณ์ผู้บริโภคให้อยากซื้อด้วย Emotional Marketing

Emotional Marketing

Emotional Marketing – หรือ แนวทางการตลาดอารมณ์ คือ แนวทางที่แสดงให้ผู้บริโภคเห็นและรู้สึกว่าผลิตภัณฑ์หรือบริการต่างๆ สามารถทำอะไรได้มากกว่าเพียงแค่ประโยชน์ในการใช้สอยขั้นพื้นฐาน การรู้ว่าการตลาดอารมณ์ทำงานอย่างไร จะสามารถช่วยให้คุณกำหนดวิธีสร้างแคมเปญการตลาดที่สร้างความสัมพันธ์ระหว่างแบรนด์และลูกค้าในระดับที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้น ในบทความนี้ เราจะมาดูว่าการตลาดอารมณ์ทำงานอย่างไร และคุณจะสามารถนำกลยุทธ์การตลาดอารมณ์ไปใช้อย่างไรให้บรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายในแคมเปญการตลาดของคุณ

การตลาดอารมณ์ คืออะไร?

Emotional Marketing

เมื่อพูดถึงธรรมชาติของมนุษย์ อารมณ์อาจเป็นหนึ่งในสิ่งที่ทรงพลังที่สุดที่ส่งผลให้เกิดการกระทำต่างๆ เนื่องจากอารมณ์ คือสิ่งที่สามารถเปลี่ยนแปลงบุคคลให้เกิดความรู้สึกบางอย่างได้ ดังนั้นจึงไม่ใช่เรื่องยากที่จะเข้าใจว่าทำไมแคมเปญการตลาดดิจิทัลที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดส่วนใหญ่ คือ แคมเปญที่สามารถสร้างการเชื่อมต่อกับผู้คนด้วยประเด็นที่เกี่ยวข้องกับอารมณ์และความรู้สึกนึกคิดต่างๆ เช่น ค่านิยม ปัญหา (Pain Point) และความรู้สึกส่วนตัว ผู้บริโภคสมัยใหม่ในยุคดิจิทัลส่วนใหญ่มีความต้องการและความคาดหวังว่าจะสร้างความสัมพันธ์ส่วนตัวกับแบรนด์ที่พวกเขาซื้อและปลูกฝังความสัมพันธ์ที่มีความหมายกับพวกเขาเมื่อเวลาผ่านไป

และเมื่อพูดถึง Emotional Marketing หรือ การตลาดอารมณ์ จะหมายถึง การที่ธุรกิจต่างๆ ทำการส่งข้อความทางการตลาดที่ใช้เพื่อกำหนดเป้าหมายทางอารมณ์เฉพาะของมนุษย์เพื่อโน้มน้าวใจผู้บริโภค ซึ่งอารมณ์เหล่านี้อาจรวมถึงความสุข ความโกรธ หรือความเศร้า นอกจากนี้ ยังรวมถึงการที่ธุรกิจตอบสนองต่อเหตุการณ์ปัจจุบัน หรือ สถานการณ์ที่เกี่ยวข้องซึ่งดึงดูดผู้ที่รู้สึกเหมือนกัน เป็นกลยุทธ์ที่ธุรกิจหวังว่าจะสร้างความสัมพันธ์ที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้นระหว่างแบรนด์และผู้บริโภค ซึ่งการตลาดทางอารมณ์อาจชักชวนให้ผู้คนซื้อผลิตภัณฑ์บางอย่าง มีส่วนร่วมกับแบรนด์ แชร์เนื้อหา หรือเพิ่มความภักดีต่อแบรนด์ เป็นต้น

และโดยทั่วไปแล้ว แคมเปญการตลาดมีเป้าหมายเดียว คือ การขับเคลื่อนการดำเนินการในแคมเปญให้บรรลุเป้าหมาย ซึ่งมีวิธีการต่างๆ มากมายที่แบรนด์และธุรกิจสามารถนำใช้เพื่อบรรลุเป้าหมายได้ อาทิ คำกระตุ้นการตัดสินใจ การตลาดแบบกำหนดเป้าหมาย และคำอธิบายแบบมีเหตุผลรองรับ เป็นต้น แต่ถ้าหากคุณต้องการยกระดับเกมการตลาดของคุณจริงๆ คุณอาจต้องใช้แรงจูงใจขั้นสูง ที่ส่งผลต่อการกระทำได้มากกว่า ซึ่งนั่นก็คือ เรื่องของอารมณ์

กลยุทธ์ทางการตลาดที่ดีที่สุดจำเป็นต้องใช้สัญญาณทางอารมณ์ต่างๆ เพื่อกระตุ้นการตอบสนองและการกระทำจากผู้ชมเป้าหมาย ตัวชี้นำทางอารมณ์มีความชัดเจนพอๆ กับการแสดงออกทางใบหน้า หรือ ละเอียดอ่อนพอๆ กับโทนสี ที่สื่ออารมณ์ความรู้สึกต่างๆ ซึ่งในชีวิตประจำวัน สิ่งเหล่านี้ล้วนอยู่ในสภาพแวดล้อมของเรา ที่มักกระตุ้นให้เกิดอารมณ์และความรู้สึกได้มากมาย ทั้ง ความสุข ความเศร้า ความตื่นเต้น และความรู้สึกอื่นๆ  ในด้านการตลาด ตัวชี้นำไปสู่อารมณ์เหล่านี้จำเป็นต้องได้รับการปรับแต่งอย่างระมัดระวังเพื่อกระตุ้นให้ลูกค้าคลิก ลงทะเบียน หรือทำการซื้อในท้ายที่สุด

ประสิทธิภาพของการตลาดอารมณ์

Emotional Marketing

เหตุผลสำคัญ ที่การตลาดอารมณ์เป็นหนึ่งในกลยุทธ์ที่ใช้ได้ผล เนื่องจากผู้บริโภคมักรู้สึกสบายใจเมื่อบริษัทเปิดเผยอารมณ์ที่ตรงไปตรงมากับพวกเขาต่อสาธารณะ ซึ่งต่อไปนี้คือเหตุผลเฉพาะบางประการที่การตลาดอารมณ์เป็นกลยุทธ์ที่มีประสิทธิภาพสำหรับทุกธุรกิจครับ

  • Emotional Marketing เป็นที่น่าจดจำ

เนื้อหาทางอารมณ์มักเชื่อมโยงกับประสบการณ์ส่วนตัวของผู้บริโภค และผู้คนมักจะจดจำโฆษณาหรือเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับประสบการณ์ของตนเองได้ดี ธุรกิจอาจสร้างเรื่องเล่าที่ดึงดูดประสบการณ์และอารมณ์ที่เฉพาะเจาะจงของผู้คนได้โดยตรง ดังนั้นเมื่อผู้คนสามารถจดจำอารมณ์เหล่านี้ได้ พวกเขาจะเริ่มเชื่อมโยงกับแบรนด์ในใจ ตัวอย่างง่ายๆ ที่สามารถอธิบายในเรื่องการสร้างความจดจำได้ ยกตัวอย่างเช่น อาชีพช่างภาพที่ได้รับการว่าจ้างถ่ายภาพและทำวีดีโองานแต่งงาน พวกเขาอาจนำเสนอ Presentation งานแต่งงานของคู่บ่าวสาว ที่บอกเล่าเรื่องราวความรักของคนทั้งคู่โดยมีเพลงรักเป็นแบ็คกราวด์ที่สามารถสร้างอารมณ์และความรู้สึกที่ลึกซึ้ง ซึ่งสิ่งนี้สามารถสร้างแรงบันดาลใจให้เกิดความทรงจำที่น่าจดจำสำหรับคู่บ่าวสาว ซึ่งการเชื่อมต่อนี้อาจส่งผลให้บ่าวสาวติดตามช่างภาพรายนี้บนโซเชียลมีเดียอยู่เรื่อยๆ หรืออาจว่าจ้างช่างภาพรายเดียวกันนี้สำหรับงาน อื่นๆ ต่อไปในอนาคต เป็นต้น 

  • Emotional Marketing สามารถสร้างปฏิกิริยาได้ทันที

ผู้คนมักเกิดความสู้สึกที่นำไปสู่การความคิดเห็นเกี่ยวกับแบรนด์หรือธุรกิจต่างๆ ได้ภายในช่วงแรกของการมีปฏิสัมพันธ์กับแบรนด์ หากปฏิกิริยาโต้ตอบในทันทีนั้นมีน้ำหนักพอ ที่จะทำให้พวกเขารู้สึกมีความสุขหรือเศร้า พวกเขาก็อาจจะตอบสนองมากขึ้น ซึ่งจะช่วยให้ผู้บริโภครู้จักแบรนด์นั้นๆ ว่าเป็นแบรนด์ที่ทำให้พวกเขารู้สึกมีอารมณ์ร่วมได้ในทันที

  • Emotional Marketing ช่วยให้ลูกค้าตัดสินใจได้

ความเชื่อมโยงทางอารมณ์ อาจมีอิทธิพลต่อลูกค้าในการซื้อผลิตภัณฑ์ของคุณเหนือแบรนด์อื่น ในกรณีที่ผลิตภัณฑ์ทั้งสองมีราคาและคุณภาพใกล้เคียงกัน ลูกค้าอาจเลือกผลิตภัณฑ์ที่พวกเขารู้สึกเชื่อมโยงความรู้สึกได้ดีกว่า ตัวอย่างเช่น การทำการตลาดเทียนหอมกลิ่นมหาสมุทรด้วยภาพชายหาดและครอบครัวที่มีความสุขอาจดึงดูดผู้บริโภคมากกว่าสีเทอร์ควอยซ์ในธีมชายหาดธรรมดาๆ เป็นต้น 

  • Emotional Marketing สร้างแรงบันดาลใจให้เกิดการกระทำ 

นอกเหนือจากการซื้อ การตลาดอารมณ์ สามารถชักชวนผู้บริโภคให้มีส่วนร่วมผ่านการแบ่งปัน แสดงความคิดเห็น และการอ้างอิง หากโฆษณาบางชิ้นทำให้ผู้บริโภคมีความสุข พวกเขาอาจมีแนวโน้มที่จะแชร์โฆษณานั้นในโซเชียลมีเดียของตัวเอง ในทำนองเดียวกัน ความโศกเศร้าหรือความกลัวสามารถสร้างแรงบันดาลใจให้ผู้บริโภคมีส่วนร่วมในความพยายามบางอย่างหรือชักชวนผู้อื่นอย่างกระตือรือร้น ตัวอย่างเช่น แบรนด์อาจโฆษณาว่าพวกเขาอาจบริจาคผลกำไรส่วนหนึ่งให้กับสถานสงเคราะห์สัตว์อย่างไร ด้วยภาพสัตว์ที่ได้รับการดูแลไม่ดี สิ่งนี้สามารถสร้างแรงบันดาลใจให้คนรักสัตว์ซื้อสินค้า หรือค้นคว้าวิธีเพิ่มเติมในการมีส่วนร่วมหรือแบ่งปันเพื่อให้ผู้อื่นสามารถช่วยเหลือได้ เป็นต้น

  • ช่วยกระตุ้นยอดขาย

จากการวิจัยพบว่า โฆษณาที่เล่นกับอารมณ์ความรู้สึกของมนุษย์นั้นมีประสิทธิภาพ 31%โดยเฉลี่ย ในขณะที่โฆษณาที่ยึดติดกับกลวิธีแบบเดิมๆ จะได้ผลประมาณ 16 % กล่าวอีกนัยหนึ่งคือการเข้าถึงผู้ชมของคุณได้อย่างถูกต้องเหมาะสมเป็นวิธีที่น่าเชื่อถือในการทำให้ผู้ตัดสินใจซื้อ การตลาดทางอารมณ์ที่ยอดเยี่ยมแสดงให้บุคคลเห็นถึงสิ่งที่จะเป็นไปได้หากพวกเขาเป็นลูกค้า ช่วยโน้มน้าวพวกเขาว่าผลิตภัณฑ์และบริการของคุณสามารถทำให้พวกเขามีความสุขมากขึ้น มีสุขภาพดีขึ้น มั่นใจมากขึ้น กลัวน้อยลง และอื่นๆ อีกมากมาย ที่สำคัญ ก่อนสร้างแคมเปญการตลาดอารมณ์ ว่าคุณต้องตระหนักอยู่เสมอว่าคุณไม่ได้จัดการกับสิ่งมีชีวิตที่มีตรรกะตรงมาตรงไปแบบสุดโต่ง แต่เป็นสิ่งมีชีวิตที่มีอารมณ์ความรู้สึก ซึ่งการเชื่อมโยงทางอารมณ์ในด้านการตลาด ไม่ใช่กลยุทธ์ที่เป็นความลับอีกต่อไป  แต่คุณสามารถใช้เพื่อสร้างความได้เปรียบที่แท้จริง หากต้องการประสบความสำเร็จ ให้ค้นหาวิธีการในการกระตุ้นให้ลูกค้าของคุณเกิดความรู้สึก ตลอดจนสิ่งที่พวกเขาต้องการและสามารถระบุได้ว่าสิ่งใดกระตุ้นพวกเขาทัศนคติและกลยุทธ์ที่มุ่งเน้นลูกค้านี้สามารถช่วยคุณสร้างแรงบันดาลใจในการอุทิศตนของลูกค้า

อารมณ์ 4 แบบ ที่สำคัญต่อการตลาดอารมณ์

Emotional Marketing
  • ความสุข = แบ่งปันมากขึ้น

เมื่อพูดถึงการทำความเข้าใจอารมณ์ดึงดูดในการตลาด นักวิทยาศาสตร์พบว่าอารมณ์เชิงบวก เช่น ความสุข มีแนวโน้มที่จะโน้มน้าวให้เราแบ่งปัน รีทวีต และเชื่อมต่อกับเพื่อนของเรามากกว่าความรู้สึกด้านลบ ซึ่งหมายความว่านักการตลาดสามารถปรับปรุงการเข้าถึงแบรนด์ของพวกเขาได้ง่ายๆ โดยการเน้นข่าวเชิงบวก หรือใช้คำที่ดึงดูดส่วนที่ “มีความสุข” ของสมอง 

  • ความเศร้า = คลิกเพิ่มเติม

ในขณะที่ความสุขอาจดึงดูดและโน้มน้าวให้เราแบ่งปันประสบการณ์ของเรากับเพื่อนและคนที่เรารัก แต่ความโศกเศร้าก็เป็นสิ่งที่ปฏิเสธไม่ได้ที่ย่อมเกิดขึ้นได้ในชีวิต การวิจัยพบว่าคำที่มีความหมายเชิงลบมักทำให้มีอัตราการคลิก (CTR) ที่สูงขึ้น ซึ่งผลจากการศึกษาของ Outbrain พบว่า คำเชิงลบมีอัตราการคลิกสูงกว่าคำที่เป็นบวกถึง 63% 

  • ความกลัว = เซอร์ไพรส์

ความกลัวเป็นสัญชาตญาณตามธรรมชาติของมนุษย์ และเป็นสิ่งที่เรารู้สึกได้ในบางครั้ง ไม่ว่าคุณจะกำลังกรีดร้องใส่แมงมุมในห้องน้ำ หรือกังวลกับสภาพแวดล้อมของโลกที่เราอาศัยอยู่ทุกวันนี้ ความกลัวมีอยู่ทุกหนทุกแห่ง ในโลกของแคมเปญการตลาดทางอารมณ์ ความกลัวกระตุ้นให้ผู้คนดำเนินการด้วยความเร่งด่วน และความปรารถนาที่จะรักษาตนเอง สำหรับมืออาชีพด้านการตลาด ความกลัวเป็นอารมณ์ที่ซับซ้อนและหยิบนำมาใช้ได้ยากกว่าความโศกเศร้าหรือความสุข ดังนั้นไม่ควรสร้างความกลัวให้ไกลเกินไป เพราะมันอาจจบลงที่ลูกค้าของคุณรู้สึกโกรธหรือเกลียดแทนได้ หนึ่งแคมเปญโฆษณาที่สร้างความตื่นตระหนก โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่เกิดขึ้นในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมามา คือ แคมเปญของกองทุนสัตว์ป่าโลก WWF ที่ขอร้องให้เราหยุดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศด้วยภาพที่น่าขนลุกที่ออกแบบมาเพื่อสร้างอารมณ์และความรู้สึกของผู้ชม 

  • โกรธ = รังเกียจ

แม้ว่าบริษัทส่วนใหญ่จะคิดว่าเป็นเรื่องดีที่จะหลีกเลี่ยงการทำให้ลูกค้าไม่พอใจ อย่างไรก็ตามอารมณ์เชิงลบที่สร้างความโกรธหรือเกลียดอาจส่งผลกระทบอย่างมากในสถานการณ์ที่เหมาะสม กลยุทธ์การตลาดทางอารมณ์ที่ใช้ความรู้สึกโกรธหรือเกลียดสามารถสลัดคนออกจากความสับสนมึนงงให้ลงมือปฏิบัติ เพราะเป็นธรรมดาเมื่อเราเห็นความอยุติธรรมในโลกที่เราต้องการความเปลี่ยนแปลง เรามักจะถูกถูกผลักดันให้ทำอะไรกับมัน

8 เทคนิค สร้างกลยุทธ์ การตลาดอารมณ์

Emotional Marketing

8 เทคนิคสำคัญ ในการสร้างกลยุทธ์ Emotional Marketing

ต่อไปนี้คือเทคนิคสำคัญ 8 ประการ ที่คุณควรพิจารณาเมื่อต้องออกแบบแคมเปญการตลาดที่เล่นกับอารมณ์ของผู้คน

1. ก่อนสร้างกลยุทธ์ Emotional Marketing ต้องรู้จักผู้ฟังของคุณ

การรู้จักผู้ชมของคุณเป็นสิ่งสำคัญในการตลาดอารมณ์ ดังนั้นให้พิจารณาทำการวิจัยตลาดเกี่ยวกับสิ่งที่อาจกระตุ้นปฏิกิริยาทางอารมณ์ในโฆษณาของคุณ ค้นคว้าว่าคู่แข่งรายใดประสบความสำเร็จในด้านการตลาดทางอารมณ์ เพื่อดูว่าผู้บริโภคเชื่อมต่อกับแบรนด์นั้นๆ อย่างไร จากนั้นให้คุณสร้างสื่อหรือข้อความทางการตลาดที่เชื่อมโยงกับความกลัว ความปรารถนา ความฝัน หรือความทรงจำของผู้บริโภค

2. ต้องช่วยส่งเสริมสร้างแรงบันดาลใจ

ยกตัวอย่างเช่นคุณสามารถส่งเสริมแรงบันดาลใจแก่ผู้คนด้วยการโฆษณาที่เน้นถึงความสำเร็จของตัวละครในขณะที่โน้มน้าวผู้บริโภคว่าพวกเขาย่อมสามารถทำได้เช่นเดียวกัน นี่เป็นเรื่องปกติของนักกีฬาที่มีชื่อเสียงในโฆษณาแบรนด์ใหญ่ๆ โฆษณาเหล่านี้อาจแสดงให้เห็นว่านักกีฬาเหล่านั้นสามารถเอาชนะอุปสรรคต่างๆ ได้อย่างไรก่อนที่จะประสบความสำเร็จในเส้นทางอาชีพ ในทำนองเดียวกัน บริษัทต่างๆ อาจให้คำมั่นสัญญากับผู้คนในด้านวิสัยทัศน์ และพันธกิจที่ดีต่อสังคมส่วนรวม  เช่น การรักษาสิ่งแวดล้อม หรือการต่อสู้เพื่อความยุติธรรมในสังคมเพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้ผู้บริโภคพิจารณาแบรนด์ของตนและตัดสินใจที่จะมีส่วนร่วมด้วย 

3. ต้องสร้างเซอร์ไพรส์และทำให้ผู้ชมของคุณพอใจ

เป็นความจริงที่นักการตลาดรู้ดีว่าในบางครั้งผู้บริโภคอาจใช้อารมณ์มากกว่าข้อมูลในขั้นตอนการประเมินแบรนด์ ซึ่งหมายความว่าหากคุณต้องการดึงดูดความสนใจของผู้ชมจริงๆ คุณต้องทำบางอย่างเพื่อสลัดพวกเขาออกจากอาการสับสนทางความคิดและต้องสร้างความประหลาดใจให้กับผู้ชมด้วยแคมเปญที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ซึ่งเป็นหนึ่งในวิธีที่ยอดเยี่ยมในการดึงดูดลูกค้าและทำให้ธุรกิจของคุณถูกนึกถึงเป็นอันดับแรกๆ 

4. ต้องช่วยสร้างมุ่งมั่นความทะเยอทะยาน

เช่นเดียวกับแรงบันดาลใจ ธุรกิจและแบรนด์ต่างๆ อาจพิจารณาว่าการช่วยให้ผู้คนสามารถบรรลุเป้าหมายที่สำคัญในประเด็นปัญหาต่างๆ สามารถช่วยให้ผู้บริโภคตั้งเป้าหมายในการแก้ปัญหาที่สูงขึ้นด้วยตนเองได้อย่างไร แบรนด์อาจแนะนำว่าหากลูกค้าใช้ผลิตภัณฑ์ของตน พวกเขาอาจบรรลุผลลัพธ์ที่เฉพาะเจาะจงบางอย่างที่อาจขาดหายไปในชีวิตของพวกเขา การตลาดทางอารมณ์อาจทำให้เห็นถึงความเชื่อมโยงที่กระตุ้นให้ผู้คนเกิดความมุ่งมั่นและทะเยอทะยานที่จะแก้ปัญหาบางอย่าง ตัวอย่างเช่น โฆษณาเฟอร์นิเจอร์ในห้องนั่งเล่นอาจแสดงภาพของครอบครัว พ่อ แม่ ลูก คนแก่คนเฒ่าที่ผ่อนคลายกำลังมีความสุข ซึ่งรวมตัวกันบนโซฟาเพื่อชมภาพยนตร์ ซึ่งต่างคนต่างหัวเราะร่วมกันอย่างอบอุ่นใจ นี่หมายความว่าเฟอร์นิเจอร์ของพวกเขาอาจสร้างแรงบันดาลใจและเติมเต็มในความมุ่งมั่นแก่ผุ้คนที่อาจมีปัญหาด้านความสัมพันธ์ในครอบครัวให้พยายามที่จะสร้างความสุขให้เกิดขึ้นในครอบครัวของพวกเขาอีกครั้ง เป็นต้น

5. สร้างเหตุการณ์สำคัญ

เหตุการณ์สำคัญในการโฆษณาสามารถทำให้ผู้คนรู้สึกนึกย้อนถึงอดีตหรือมีความเกี่ยวข้องกับบางธุรกิจ ซึ่งสามารถกำหนดเป้าหมายวันสำคัญหรือ กิจกรรม เช่น วันครบรอบหรือบางช่วงเวลาของปี ตัวอย่างเช่น บริษัทกล้องวีดีโอ อาจโฆษณาที่เป็นภาพของครอบครัวที่ใช้อุปกรณ์ของพวกเขาในการถ่ายภาพทารกแรกเกิด และตัดภาพไปในอนาคตถึงวันที่ทารกเพื่อถ่ายภาพในวันที่สำเร็จการศึกษา สิ่งนี้จะทำให้ผู้คนรู้สึกซาบซึ้งกับประสบการณ์ของครอบครัวและเหตุการณ์สำคัญของพวกเขา ซึ่งจะช่วยสร้างความสัมพันธ์อันน่าจดจำของเหตุการณ์สำคัญในช่วงชีวิต

6. เลือกใช้สีให้เหมาะสมกับ

นักการตลาด นักออกแบบผลิตภัณฑ์ หรือ กราฟิกดีไซเนอร์ทุกคน รู้ดีว่าสีสันต่างๆ สามารถสร้างการตอบสนองทางอารมณ์ในผู้คนได้มากกว่าที่คิด การใช้สีเพื่อจุดประสงค์ที่แตกต่างกันอาจส่งผลต่อความรู้สึกของผู้คนที่มีต่อผลิตภัณฑ์หรือบริษัทบางประเภท ตัวอย่างเช่น ผู้คนอาจเชื่อมโยงสีเขียวกับความตระหนักด้านสุขภาพและสิ่งแวดล้อม ในขณะที่สีแดงสามารถกระตุ้นอารมณ์ เช่น ความตื่นเต้น ความปิติยินดี และความหลงใหล คุณสามารถใส่สีกับสถานที่ เสื้อผ้าของบุคคล หรือวัตถุที่โดดเด่นในโฆษณาได้ เป็นต้น

7. กำหนดเส้นทางทางอารมณ์ของลูกค้า

เมื่อคุณออกแบบแคมเปญการตลาด ขั้นตอนแรกของคุณควรเป็นการค้นหาว่าลูกค้าของคุณน่าจะรู้สึกอย่างไรกับวิธีการหรือขั้นตอนต่างๆ ในการซื้อของคุณ ปัญหาหรือความปรารถนาใดที่อาจทำให้พวกเขาตามหาคุณ คนที่ประสบปัญหาเหล่านั้นจะรู้สึกอย่างไร? คุณหวังว่าจะสร้างหรือบรรเทาความรู้สึกใดกับผลิตภัณฑ์หรือบริการของคุณ ดังนั้นให้ใช้เวลาสักครู่เพื่อสร้างรายการหรือแผนผังความคิดของอารมณ์ทั้งหมดที่คุณนึกออกซึ่งลูกค้าของคุณอาจกำลังประสบอยู่ 

8. ระบุอารมณ์หลักที่ต้องการให้เกิดขึ้นในแคมเปญ 

จำไว้ว่าความเรียบง่าย คือ กุญแจสำคัญสู่ความสำเร็จ  ดังนั้นควรเลือกอารมณ์หลักเพียงหนึ่งหรือสองอารมณ์หากคุณต้องการบอกเล่าเรื่องและถ่ายทอดอารมณ์ความรู้สึกหนึ่งๆ ไปยังกลุ่มเป้าหมายของคุณ อย่างไรก็ตามกลุ่มเป้าหมายของคุณควรเป็นผู้คนที่กลมกลืนความรู้สึกไปกับอารมณ์หลักที่คุณตั้งเป้าหรือตั้งใจที่จะให้พวกเขาสัมผัส ตัวอย่างเช่น หากคุณเป็น Life Coach คุณอาจตัดสินใจสร้างแคมเปญที่สร้างการรับรู้ถึงความวิตกกังวลในชีวิตที่ผู้มีโอกาสเป็นลูกค้ากำลังเผชิญอยู่ ซึ่งคุณอาจเน้นย้ำว่าบริการของคุณจะช่วยให้พวกเขารู้สึกสงบในชีวิตมากขึ้นได้อย่างไร เป็นต้น

สรุป

แม้ว่าการตลาดเชิงอารมณ์อาจเป็นกลยุทธ์ทางการตลาดที่สร้างได้ไม่ง่ายนักและจำเป็นต้องใช้ความระมัดระวังและความพิถีพิถันก่อนการสื่อสารออกไป แต่ความจริงแล้วไม่ใช่เรื่องยากจนเกินไปสำหรับนักการตลาดที่ต้องการใช้ประโยชน์จากกลยุทธ์นี้ เพราะในท้ายที่สุดสิ่งที่ชัดเจนที่สุด คือ เราทุกคนต่างก็เป็นมนุษย์ ดังนั้นเราทุกคนล้วนมีอารมณ์ความรู้สึก ดังนั้นโอกาสต่อไปที่คุณสร้างเนื้อหาในการสื่อสารการตลาด ให้ลองนึกถึงวิธีที่คุณจะสามารถใช้ประโยชน์จากอารมณ์ เพื่อสร้างข้อความที่ทรงพลังยิ่งขึ้นเพื่อตอบโจทย์แนวคิดของการตลาดอารมณ์  ซึ่งนั่นก็คือ การกระตุ้นการมีส่วนร่วม ดังนั้นอย่ากลัวที่จะลองผิดลองถูก ที่สำคัญคุณต้องยึดมั่นในคำมั่นสัญญาของแบรนด์และธุรกิจของคุณ เพื่อทำให้การเชื่อมต่อกับผู้คนนั้นเกิดขึ้นได้จริง และทำให้แน่ใจว่าข้อความของคุณแสดงถึงความจริงใจอย่างตรงไปตรงมา

แหล่งที่มา :

https://www.indeed.com

https://rockcontent.com

https://www.deskera.com

บทความแนะนำ

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *