Search Intent คืออะไร? สำคัญอย่างไรต่อกลยุทธ์ SEO

Search Intent

การทำ SEO (Search Engine Optimization) ในปัจจุบัน ไม่ได้เน้นเพียงแค่การเพิ่มปริมาณคีย์เวิร์ดบนเว็บไซต์แต่ยังต้องเข้าใจถึง Search Intent ของผู้ใช้ ซึ่งเป็นจุดประสงค์หรือเจตนาของผู้ใช้เมื่อค้นหาข้อมูลบน Search Engine อย่าง Google หรือ Bing ในบทความวันนี้ เราจะมาพูดถึงความสำคัญของการหาจุดประสงค์ของผู้ใช้ และวิธีการนำไปใช้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพด้าน SEO ให้กับเว็บไซต์ของคุณครับ

Search Intent คืออะไร?

Search Intent คืออะไร?

ทำความเข้าใจ Search Intent คืออะไร?

Search Intent คือ “เจตนาในการค้นหา” หรือ “ความต้องการในการค้นหา” ของผู้ใช้เมื่อค้นหาข้อมูลบน Search Engine หมายถึง เป้าหมายพื้นฐานที่ผู้ใช้มีเมื่อป้อนคำค้นหาลงในเครื่องมือค้นหา ซึ่งสามารถสังเกตได้จากคีย์เวิร์ดหรือคำค้นหาที่ผู้ใช้พิมพ์ลงในช่องค้นหา นอกจากนี้ยังอาจเรียกว่า User Intent หรือ Audience Intent เนื่องจากทั้งหมดล้วนหมายถึงความต้องการที่แท้จริงของผู้ใช้ในการค้นหาข้อมูลนั่นเอง
 
เจตนาในการค้นหา ถือเป็นสิ่งสำคัญในการปรับแต่งเนื้อหาเพื่อให้มีอันดับ (Ranking) สูงขึ้นในหน้าผลการค้นหา (SERP) การทำความเข้าใจเจตนาในการค้นหาจะช่วยให้ผู้เชี่ยวชาญด้าน SEO สร้างเนื้อหาที่สอดคล้องกับสิ่งที่ผู้ใช้กำลังมองหา จึงทำให้มีความเกี่ยวข้องและความพึงพอใจของผู้ใช้เพิ่มมากขึ้น ซึ่งการทำความเข้าใจและการจัดแนวทางให้สอดคล้องกับเจตนาของการค้นหาจะช่วยให้คุณสร้างเนื้อหาที่ปรับแต่งให้ตรงกับสิ่งที่กลุ่มเป้าหมายของคุณสนใจและมีแนวโน้มที่จะติดอันดับในผลการค้นหาได้มากขึ้น
 

4 ประเภทของ Search Intent

4 ประเภทของ Search Intent

เข้าใจ 4 ประเภทหลักของ Search Intent 

อย่างที่กล่าวไปแล้วว่า เจตนาในการค้นหา เป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยให้เข้าใจว่าผู้ใช้ต้องการอะไรเมื่อทำการค้นหาบน Google ซึ่งโดยทั่วไปแล้วสามารถแบ่งออกเป็น 4 ประเภทหลัก ได้แก่ Informational, Navigational, Commercial และ Transactional การเข้าใจประเภทของเจตนาในการค้าหาจะช่วยให้คุณสามารถสร้างคอนเทนต์ที่ตรงกับความต้องการของผู้ใช้และเพิ่มประสิทธิภาพในการทำ SEO ได้ เรามาทำความเข้าใจแต่ละประเภทไปพร้อมกันครับ

 

1. Informational Intent

ผู้ใช้ต้องการข้อมูลหรือคำตอบสำหรับคำถามของพวกเขา การค้นหาประเภทนี้ มักเกี่ยวข้องกับการเรียนรู้หรือการทำความเข้าใจในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง มักจะใช้คำถามที่เริ่มต้นด้วยคำว่า “ใคร” “อะไร” “ที่ไหน” “ทำไม” หรือ “อย่างไร” เพื่อแสดงถึงความต้องการข้อมูล เช่น “วิธีทำไก่ทอดเกาหลี” “SEO คืออะไร” “วิธีเลี้ยงแมว” เป็นต้น  การสร้างคอนเทนต์ที่ตอบสนอง Informational Intent จะช่วยให้เว็บไซต์มีความน่าเชื่อถือและดึงดูดผู้ใช้ได้มากขึ้น

 

2. Navigational Intent

ผู้ใช้ต้องการค้นหาสิ่งที่เฉพาะเจาะจง เช่น เว็บไซต์หรือหน้าเว็บที่ต้องการเข้าถึง โดยมักจะรู้ชื่อแบรนด์หรือชื่อเว็บไซต์อยู่แล้ว แต่อาจจำ URL ไม่ได้หรือไม่ต้องการพิมพ์ URL แบบเต็ม ผู้ใช้มักจะพิมพ์ชื่อแบรนด์หรือชื่อเว็บไซต์ลงใน Google เพื่อเข้าถึงเว็บไซต์นั้นโดยตรง เช่น “Facebook login”, “Netflix”, หรือ “Apple”

3. Commercial Intent

ผู้ใช้ต้องการค้นหาข้อมูลเพื่อประกอบการตัดสินใจซื้อสินค้าหรือบริการ การค้นหานี้ มักเกี่ยวข้องกับการเปรียบเทียบและวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อช่วยในการตัดสินใจซื้อในอนาคต หรือหาข้อมูลเพื่อเปรียบเทียบสินค้าหรือบริการต่างๆ เช่น “รีวิว iPhone 14 Pro vs iPhone 13 Pro” หรือ “Adidas vs Nike อะไรดีกว่า” หรือบางครั้ง ผู้ใช้อาจทำการค้นหารีวิวจากผู้ใช้รายอื่นเพื่อช่วยในการตัดสินใจ เช่น “รีวิวเครื่องดูดฝุ่น Dyson” หรือ “รีวิวโรงแรมในภูเก็ต”เป็นต้น  หรืออีกแนวทางหนึ่งคือ ผู้ใช้อาจค้นหาข้อมูลเพื่อช่วยในการตัดสินใจซื้อ เช่น “ข้อดีข้อเสียของการซื้อ MacBook” หรือ “ส่วนลดสำหรับซื้อ Smart TV”
 

4. Transactional Intent

ผู้ใช้ต้องการทำธุรกรรมบางอย่าง เช่น ซื้อสินค้า จองบริการ หรือเข้าถึงหน้าเว็บเพื่อทำการซื้อขาย การค้นหานี้มักเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจซื้อหรือใช้บริการอย่างจริงจัง โดยผู้ใช้รู้แล้วว่าต้องการอะไร และกำลังมองหาสถานที่หรือวิธีการซื้อ โดยผู้ใช้มักค้นหาสินค้า หรือบริการที่ต้องการซื้อ เช่น “ซื้อ iPhone 14”, “จองโรงแรมในกรุงเทพ”, หรือ “เช่ารถยนต์” นอกจากนี้ผู้ใช้อาจค้นหาสถานที่ที่สามารถซื้อสินค้าหรือใช้บริการได้ เช่น “ร้านขายของชำใกล้ฉัน” หรือ “ร้านอาหารจีนในกรุงเทพ” หรืออาจค้นหาราคาและโปรโมชั่นเพื่อช่วยในการตัดสินใจซื้อ เช่น “iPhone 14 ราคา” เป็นต้น

 
อย่างไรก็ตาม สุดท้ายแล้ว คีย์เวิร์ดหลายคำก็อาจมีจุดประสงค์ได้หลายประการ เนื่องจากแรงจูงใจเบื้องหลังการค้นหาของผู้ใช้อาจมีความซับซ้อน ตัวอย่างเช่น คำค้นหา “หม้อทอดไร้น้ำมันที่ดีที่สุด” เป็นคำที่ทั้งให้ข้อมูลเพื่อการค้า และใช้เพื่อการค้าในเวลาเดียวกัน เนื่องจากในผลการค้นหาคุณจะพบบทวิจารณ์ผลิตภัณฑ์ คำแนะนำ โฆษณาและข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับหม้อทอดไร้น้ำมันคืออะไร และมีประโยชน์อย่างไร ดังนั้นการทำความเข้าใจแรงจูงใจถือเป็นสิ่งสำคัญหากคุณต้องการให้เนื้อหาของคุณได้รับการจัดอันดับที่ดีขึ้น

การหา Search Intent ได้เหมาะสมสำคัญอย่างไร?

ความสำคัญของการหา Search Intent ได้เหมาะสม
การทำความเข้าใจ เจตนาในการค้นหา เป็นกุญแจสำคัญในการสร้างคอนเทนต์ที่ตรงใจผู้ใช้ และเพิ่มโอกาสให้เว็บไซต์ติดอันดับบนหน้าแรกของ Google ซึ่งจะช่วยเพิ่ม Organic Traffic และความน่าเชื่อถือของเว็บไซต์
 

1. ประสบการณ์ผู้ใช้ที่ดียิ่งขึ้น

เมื่อเนื้อหาของคุณตรงกับ เจตนาในการค้นหา ผู้ใช้จะพบว่าเว็บไซต์ของคุณให้ข้อมูลที่มีคุณภาพและตรงประเด็น ซึ่งจะทำให้พวกเขาใช้เวลากับเว็บไซต์นานขึ้น และลด Bounce Rate นี่เป็นสัญญาณบวกสำหรับ Google และช่วยเพิ่มโอกาสในการติดอันดับ เนื้อหาที่สอดคล้องกับเจตนาในการค้นหาจะให้สิ่งที่ผู้ใช้ต้องการแก่ผู้ใช้โดยตรง นำไปสู่ประสบการณ์ผู้ใช้ที่ดีขึ้น สิ่งนี้กระตุ้นให้ผู้ใช้สำรวจไซต์เพิ่มเติมและดำเนินการตามที่ต้องการและมีแนวโน้มที่จะอยู่ในเว็บไซต์นั้นๆ นานขึ้น

 

2. ช่วยเพิ่ม Click-Through Rate 

เมื่อ Meta Tags (เช่น Title Tag และ Meta Description) ตรงกับเจตนาของผู้ใช้ ผู้ใช้จะรู้สึกว่าเนื้อหาของคุณตอบสนองความต้องการของพวกเขาอย่างตรงจุด ซึ่งแน่นอนว่าจะช่วยเพิ่มโอกาสที่พวกเขาจะคลิกเข้าไปยังเว็บไซต์ของคุณ

 

3. เพิ่ม Brand Awareness และ Conversion Rate

การสร้างคอนเทนต์ที่ตอบสนอง เจตนาในการค้นหา จะช่วยเพิ่มประสบการณ์ที่ดีให้กับผู้ใช้ ทำให้เกิดความประทับใจและเพิ่มโอกาสที่ผู้ใช้จะกลับมาใช้บริการหรือซื้อสินค้าจากเว็บไซต์นั้น นอกจากนี้ยังช่วยเพิ่ม Brand Awareness โดยการแสดงให้เห็นว่าเว็บไซต์มีคอนเทนต์ที่มีคุณภาพและเป็นประโยชน์ นอกจากนี้ การตอบสนอง เจตนาในการค้นหา อย่างถูกต้องจะช่วยให้ผู้ใช้สามารถพบสิ่งที่พวกเขาต้องการได้อย่างรวดเร็วและง่ายดาย ซึ่งจะเพิ่มโอกาสในการแปลง (Conversion) ไม่ว่าจะเป็นการซื้อสินค้า ลงทะเบียน หรือการดำเนินการอื่นๆ 

 

4. โอกาสในการทำอันดับที่ดีขึ้น

Google ใช้การวิเคราะห์ เจตนาในการค้นหา เพื่อจัดอันดับเว็บไซต์ โดยเว็บไซต์ที่ตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ได้ดีที่สุดจะมีโอกาสติดอันดับที่สูงขึ้น ดังนั้นความเข้าใจและการตอบสนอง เจตนาในการค้นหา อย่างถูกต้องจะช่วยให้เว็บไซต์ของคุณติดอันดับบน Google ได้ดีขึ้น เนื่องจากเครื่องมือค้นหาให้ความสำคัญกับเนื้อหาที่ตรงกับเจตนาของผู้ใช้ เพิ่มโอกาสในการจัดอันดับที่สูงขึ้นในผลการค้นหา Algorithm ของ Google เช่น RankBrain และ BERT ได้รับการออกแบบมาเพื่อทำความเข้าใจและให้ความสำคัญกับเจตนาในการค้นหา

 

5. สร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน

การทำความเข้าใจและปรับให้เหมาะสมสำหรับเจตนาในการค้นหาสามารถให้ธุรกิจได้เปรียบในการแข่งขันได้ ด้วยการจัดเตรียมเนื้อหาที่เกี่ยวข้อง บริษัทสามารถดึงดูดผู้เข้าชมที่มีคุณสมบัติเหมาะสมได้มากขึ้นและอยู่เหนือคู่แข่งได้ ในภูมิทัศน์ของ SEO ที่เปลี่ยนแปลงไป การสร้างเนื้อหาให้สอดคล้องกับเจตนาในการค้นหาจะช่วยให้มองเห็นได้ในระยะยาวและมีความเกี่ยวข้อง เนื่องจากเครื่องมือค้นหาจะปรับแต่งอัลกอริทึมต่อไปเพื่อให้ความสำคัญกับเจตนาของผู้ใช้รองรับการถูกมองเห็นในระยะยาว 

7 ขั้นตอนหา Search Intent ให้เหมาะสม

7 ขั้นตอนหา Search Intent ให้เหมาะสม

Google ให้ความสำคัญกับความเกี่ยวข้องในผลการค้นหา เนื่องจากพวกต้องการให้ข้อมูลที่เกี่ยวข้องที่สุดแก่ผู้ใช้เพื่อให้พวกเขากลับมาอีกและได้ทุ่มเทความพยายามอย่างมากในการตีความจุดประสงค์ในการค้นหาดังนั้น หากคุณต้องการให้เนื้อหาของคุณติดอันดับใน Google เนื้อหาของคุณจะต้องเป็นผลลัพธ์ที่เกี่ยวข้องที่สุดสำหรับคำค้นหานั้นๆ วันนี้ Talka มี 10 ขั้นตอนสำคัญ ที่จะช่วยให้คุณสามารถหา เจตนาในการค้นหา ที่เหมาะสมเพื่อประสิทธิภาพสำหรับกลยุทธ์ SEO ของคุณครับ

1. ทำความเข้าใจประเภทของ Search Intent

ทำความคุ้นเคยกับเจตนาในการค้นหาหลัก 4 ประเภท ได้แก่ เจตนาในการหาข้อมูลเจตนาในการนำทาง เจตนาในการทำธุรกรรม และเจตนาในเชิงพาณิชย์ เนื่องจากแต่ละประเภทต้องการกลยุทธ์เนื้อหาที่แตกต่างกันเพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้ใช้ 

2. วิจัยคีย์เวิร์ด 

ใช้เครื่องมือค้นหาคำหลักเพื่อระบุคำหลักและวลีที่ผู้ใช้กำลังค้นหา ซึ่งจะช่วยให้เข้าใจเจตนาเบื้องหลังการค้นหาเหล่านั้น

3. วิเคราะห์ SERP

ตรวจสอบหน้าที่มีอันดับสูงสุดสำหรับคีย์เวิร์ดเป้าหมายของคุณ ประเภทของเนื้อหาและคุณลักษณะที่ปรากฏใน SERP (เช่น แผนที่ วิดีโอ รายการผลิตภัณฑ์) สิ่งเหล่านี้สามารถบ่งบอกถึงเจตนาในการค้นหาที่โดดเด่นได้

4. ค้นหาตัวปรับแต่งการค้นหา

ระบุคำหรือวลีในแบบสอบถามการค้นหาที่บ่งบอกถึงความตั้งใจของผู้ใช้ เช่น “วิธีการ” “สิ่งที่ดีที่สุด” หรือ “รีวิว” ซึ่งมักบ่งชี้ถึงความตั้งใจในการให้ข้อมูลหรือเชิงพาณิชย์ 

5. พิจารณาเส้นทางของผู้ใช้

ลองนึกถึงขั้นตอนการตัดสินใจของผู้ใช้ พวกเขากำลังค้นคว้าหรือพร้อมที่จะซื้อหรือไม่ วิธีนี้จะช่วยปรับแต่งเนื้อหาให้ตรงกับความต้องการในแต่ละขั้นตอน เนื่องจาก User Journey หรือ เส้นทางของผู้ใช้ คือกระบวนการที่ผู้ใช้เดินทางจากจุดเริ่มต้น (เช่น การค้นหาข้อมูล) ไปจนถึงการตัดสินใจ (เช่น การซื้อสินค้า หรือสมัครบริการ) การเข้าใจเส้นทางนี้ช่วยให้เราสามารถ กำหนด เจตนาในการค้นหา ได้แม่นยำขึ้น และปรับแต่งเนื้อหาให้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้ในแต่ละช่วงได้ หากเราเข้าใจว่า เจตนาในการค้นหา อยู่ตรงไหนของ User Journey ก็สามารถสร้าง เนื้อหาที่ตอบโจทย์แต่ละช่วงได้ เช่น

  • ช่วง Awareness → บทความแนะนำ, คู่มือ, คำอธิบายพื้นฐาน
  • ช่วง Consideration → รีวิวสินค้า, เปรียบเทียบตัวเลือก, ข้อดีข้อเสีย
  • ช่วง Decision → หน้า Landing Page, โปรโมชั่น, Call-to-Action ชัดเจน
  • ช่วง Post-Purchase → วิธีใช้, การแก้ปัญหา, บริการหลังการขาย

 6. ใช้คำว่า “ผู้คนยังถาม” และ การค้นหาที่เกี่ยวข้อง

การใช้ “ผู้คนยังถาม” (People Also Ask – PAA) และ “การค้นหาที่เกี่ยวข้อง” (Related Searches) บน Google เป็นเทคนิคที่มีประโยชน์สำหรับการหา เจตนาในการค้นหา ที่เหมาะสมที่สุด เนื่องจากช่วยให้เข้าใจว่าผู้ใช้ต้องการข้อมูลอะไรเพิ่มเติมจากคำค้นหาหลักของพวกเขา นอกจากนี้ยังช่วยให้เข้าใจลึกขึ้นว่าผู้ใช้ต้องการข้อมูลอะไรนอกเหนือจากคำค้นหาหลักและช่วยแยกประเภทของ Intent ให้ชัดเจนขึ้น (Informational, Commercial, Transactional) ท้ายที่สุดแล้วการหาคีย์เวิร์ดเพิ่มเติมที่มีแนวโน้มตรงกับ Intent ของลูกค้าจะช่วยให้คุณสร้างเนื้อหาที่ตอบโจทย์และเพิ่มโอกาสให้เว็บติดอันดับได้ดียิ่งขึ้น

7. ตรวจสอบปริมาณการค้นหา 

หรือการหา Search Volume เพื่อวิเคราะห์จำนวนครั้งที่คำค้นหาถูกใช้ในเครื่องมือค้นหา เช่น Google เพื่อช่วยระบุว่าผู้ใช้มี เจตนา (Intent) ในการค้นหาข้อมูลประเภทใด ซึ่งปริมาณการค้นหาที่สูงอาจบ่งบอกถึงความตั้งใจที่ชัดเจน ในขณะที่การตรวจสอบเทรนด์ เช่น บน Google Trends อาจบอกได้ถึงความสนใจตามฤดูกาล หรือตามช่วงเวลาซึ่งส่งผลต่อความตั้งใจ เป็นต้น สุดท้ายแล้ว การตรวจสอบปริมาณการค้นหา จะช่วยให้เราทราบว่า เจตนาในการค้นหา ของผู้ใช้เป็นแบบใด เพื่อปรับกลยุทธ์ SEO หรือโฆษณาให้เหมาะสม

 

 

แหล่งที่มา :
 
 

บทความแนะนำ

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *