Zero-Click Marketing – ในยุคที่ผู้คนต้องการคำตอบของคำถามอย่างรวดเร็ว อยากรู้อะไรแค่เข้า Google แล้วพิมพ์ถามเพียงไม่กี่คำก็มีคำตอบที่ต้องการปรากฎขึ้นให้อ่านทันทีโดยไม่จำเป็นต้องคลิกเข้าไปหาคำตอบจากที่ไหนให้เสียเวลา สิ่งนี้เรียกว่า”การตลาดแบบไม่ต้องคลิก” ซึ่งถือเป็นอีกหนึ่งเทรนด์การตลาดที่น่าจับตาในปี 2025 ว่าเมื่อผู้คนได้คำตอบเร็วขึ้น คลิกน้อยลง จะเกิดอะไรขึ้นในโลกของธุรกิจและการตลาด เรียกได้ว่ามีเรื่องท้าทายให้ผู้ที่เกี่ยวข้องต้องคอยปรับตัวให้ทันเทรนด์อยู่ตลอด ซึ่งวันนี้เราจะมาพูดถึงเรื่องนี้กันในหลากหลายประเด็นที่น่าสนใจครับ
Zero-Click Marketing คืออะไร?

ทำความเข้าใจ Zero-Click Marketing คืออะไร?
Zero-Click Marketing คือ กลยุทธ์ที่ช่วยให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงข้อมูลหรือบริการได้ทันที โดยไม่ต้องคลิกไปยังเว็บไซต์หรือแหล่งข้อมูลอื่น ๆ ตัวอย่างเช่น การแสดงผลข้อมูลในหน้าผลการค้นหาของ Google ที่ให้คำตอบทันทีโดยไม่ต้องคลิกเข้าไปยังเว็บไซต์ต้นทาง แนวทางนี้ช่วยลดขั้นตอนที่ยุ่งยากและทำให้ผู้บริโภคสามารถได้รับข้อมูลที่ต้องการได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำ
หลักการของ Zero-Click Marketing

1. Zero-Click Content
การสร้างเนื้อหาที่มีคุณภาพและตอบคำถามของผู้ใช้ได้อย่างครบถ้วนบนแพลตฟอร์มเดียว ทำให้ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องคลิกเพื่ออ่านข้อมูลเพิ่มเติมจากที่อื่น ตัวอย่างเช่น หากแบรนด์จัดทำคอนเทนต์ให้ความรู้เรื่อง “เสื้อผ้าผู้หญิงในฤดูร้อน” บน Facebook Page ข้อมูลควรรวบรวมทุกแง่มุมที่ผู้ใช้งานอยากรู้ไว้ในโพสต์เดียวโดยไม่ต้องแนบลิงก์ไปยัง YouTube หรือเว็บไซต์อื่น ๆ เป็นต้น
2. Customer Experience ที่ดี
การให้ข้อมูลที่ครบถ้วนและเข้าใจง่าย ช่วยลดความหงุดหงิดของผู้ใช้ที่ต้องคลิกไปยังหลายแหล่งข้อมูล การสร้างประสบการณ์ที่ราบรื่นและน่าพึงพอใจให้กับลูกค้าโดยการให้ข้อมูลที่ต้องการอย่างครบถ้วนและรวดเร็วภายในแพลตฟอร์มเดียวโดยที่ผู้ใช้งานไม่จำเป็นต้องคลิกไปยังเว็บไซต์อื่นๆ เพื่อหาข้อมูลเพิ่มเติม ถือเป็นการตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคในยุคที่ต้องการความรวดเร็วและสะดวกสบาย ทำให้พวกเขาสามารถเข้าถึงข้อมูลที่ต้องการได้อย่างง่ายดายซึ่งถือเป็นประสบการณ์ดีๆ ที่พวกเขาได้รับจากแบรนด์
3. ภาพลักษณ์ความเป็นมืออาชีพ
การนำเสนอข้อมูลเชิงลึกในบทความหรือวิดีโอขนาดยาว ที่แสดงให้เห็นว่าแบรนด์มีความเชี่ยวชาญและสามารถเรียบเรียงเนื้อหาที่ซับซ้อนให้เข้าใจง่ายได้ ทำให้ผู้บริโภคมองว่าแบรนด์เป็นผู้เชี่ยวชาญ การสร้างภาพลักษณ์นี้ มีความสำคัญเนื่องจากช่วยสร้างความน่าเชื่อถือ และความไว้วางใจจากผู้บริโภค การทำคอนเทนต์ที่มีคุณภาพและให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ อย่างครบถ้วนภายในแพลตฟอร์มเดียวจะช่วยส่งเสริมภาพลักษณ์ความเป็นมืออาชีพให้กับแบรนด์ได้ นอกจากนี้ การใช้ภาพและเสียงที่คมชัดในคอนเทนต์ยังช่วยดึงดูดความสนใจ และสร้างความประทับใจให้กับผู้รับชมอีกด้วย การที่แบรนด์สามารถตอบคำถามและข้อสงสัยของผู้คนได้มาก จะยิ่งทำให้แบรนด์ได้รับความเชื่อถือมากยิ่งขึ้น ดังนั้น การสร้าง Zero-Click Content ที่มีคุณภาพและให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์จึงเป็นกลยุทธ์สำคัญในการสร้างภาพลักษณ์ความเป็นมืออาชีพให้กับแบรนด์
4. ความรวดเร็ว
ผู้บริโภคในยุคปัจจุบันต้องการความรวดเร็วในการเข้าถึงข้อมูล ดังนั้นการลดขั้นตอนในการค้นหาข้อมูลจึงเป็นสิ่งสำคัญ ซึ่งความสำเร็จนั้นอยู่ที่ความสามารถในการให้ข้อมูลหรือคำตอบที่ผู้ใช้ต้องการได้ทันที โดยไม่จำเป็นต้องมีการคลิกเพิ่มเติมเพื่อเข้าให้ถึงข้อมูลนั้น ๆ ซึ่งเป็นการตอบสนองต่อพฤติกรรมของผู้บริโภคในยุคดิจิทัลที่ต้องการข้อมูลอย่างรวดเร็วและสะดวกสบาย ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยให้ Zero-Click Content สามารถตอบสนองต่อความต้องการของผู้บริโภคได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับลูกค้า
5. การปรับแต่งเนื้อหา
การใช้ข้อมูลและพฤติกรรมของลูกค้าเพื่อปรับแต่งเนื้อหาและข้อเสนอให้ตรงกับความต้องการของแต่ละบุคคล กล่าวคือ เป็นกระบวนการที่ธุรกิจหรือผู้สร้างเนื้อหาใช้เพื่อทำให้เนื้อหาของตนสามารถตอบสนองต่อความต้องการของผู้ค้นหาได้อย่างรวดเร็วและตรงประเด็น โดยไม่จำเป็นต้องให้ผู้ใช้คลิกเข้าไปที่เว็บไซต์เพื่อหาคำตอบเพิ่มเติม การปรับแต่งเนื้อหานี้มุ่งเน้นไปที่การสร้างข้อมูลที่มีคุณค่าและสามารถเข้าถึงได้ทันที เช่น การจัดเตรียมคำตอบที่ชัดเจนสำหรับคำถามที่พบบ่อย หรือการนำเสนอข้อมูลในรูปแบบที่เหมาะสมกับ SERP (Search Engine Results Page) เช่น Featured Snippets, Knowledge Panels, และ Quick Answers ซึ่งช่วยให้ผู้ใช้ได้รับข้อมูลที่ต้องการโดยไม่ต้องคลิกไปยังเว็บไซต์อื่น ๆ
ประโยชน์ของ Zero-Click Marketing สำหรับธุรกิจ

1. เพิ่มโอกาสในการปิดการขาย
การตลาดแบบ Zero-Click ช่วยลดขั้นตอนที่ซับซ้อนในกระบวนการซื้อ ทำให้ลูกค้าสามารถเข้าถึงข้อมูลหรือบริการได้ทันที การลดขั้นตอนนี้ช่วยลดอัตราการละทิ้งรถเข็นในร้านค้าออนไลน์ ซึ่งเป็นปัญหาที่พบบ่อยในธุรกิจอีคอมเมิร์ซ เมื่อผู้บริโภคสามารถทำธุรกรรมได้ง่ายและรวดเร็ว โอกาสในการปิดการขายก็จะสูงขึ้น
2. สร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้า
ลูกค้าในยุคดิจิทัลมีความต้องการที่สูงขึ้นในการเข้าถึงข้อมูลอย่างรวดเร็ว การตลาดแบบ Zero-Click ตอบสนองต่อความต้องการนี้โดยการนำเสนอข้อมูลที่จำเป็นในทันที เช่น การแสดงผลข้อมูลในหน้าค้นหาโดยไม่ต้องคลิกไปยังเว็บไซต์อื่น ความสะดวกสบายนี้ช่วยสร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับลูกค้า ซึ่งนำไปสู่ความพึงพอใจและความภักดีต่อแบรนด์
3. สร้างความแตกต่างในตลาด
ธุรกิจที่สามารถนำเสนอ Zero-Click Experience จะมีความได้เปรียบในการแข่งขัน โดยเฉพาะในตลาดที่มีตัวเลือกมากมาย การมอบประสบการณ์ที่ไร้รอยต่อช่วยให้ธุรกิจโดดเด่นและเป็นที่จดจำในใจของผู้บริโภค
4. เชื่อมโยงกับพฤติกรรมการค้นหาที่เปลี่ยนแปลง
ผู้บริโภคมักใช้เครื่องมือค้นหาเพื่อหาข้อมูลอย่างรวดเร็ว การตลาดแบบ Zero-Click ช่วยให้ธุรกิจสามารถตอบสนองต่อพฤติกรรมนี้ได้ โดยการปรับปรุงเนื้อหาและข้อมูลให้เหมาะสมกับผลลัพธ์การค้นหา เช่น การใช้ Google My Business เพื่อแสดงข้อมูลร้านค้าโดยตรงในหน้าผลการค้นหา นอกจากนี้ ยังช่วยเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงกลุ่มลูกค้าใหม่ ๆ ที่กำลังค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์หรือบริการที่ธุรกิจเสนอ ด้วยเหตุนี้ การตลาดแบบ Zero-Click จึงเป็นกลยุทธ์ที่มีประโยชน์มากสำหรับธุรกิจในการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้าและเพิ่มยอดขายอย่างยั่งยืน
เทคนิคในการสร้างเนื้อหาแบบ Zero-Click

เทคนิคในการสร้างเนื้อหาแบบ Zero-Click นำเสนอวิธีการและกลยุทธ์ในการสร้างเนื้อหาที่ตอบโจทย์ Zero-Click เช่น การใช้ SEO ที่เหมาะสม การออกแบบเนื้อหาให้กระชับและตรงประเด็น เป็นต้น เพื่อให้เนื้อหาของคุณตอบโจทย์ Zero-Click และดึงดูดความสนใจของผู้ใช้งาน ต่อไปนี้คือเทคนิคและกลยุทธ์ที่คุณสามารถนำไปปรับใช้ได้ครั
1. สร้างเนื้อหาที่ชัดเจนและกระชับ
- เน้นความชัดเจนและรัดกุม : หัวใจสำคัญของ Zero-Click Content คือการสื่อสารข้อความให้กระชับและชัดเจน ทุกคำที่ใช้ต้องมีจุดประสงค์และเพิ่มคุณค่าให้กับข้อความที่ต้องการสื่อ
- หลีกเลี่ยงศัพท์เฉพาะ : ใช้ภาษาที่เข้าใจง่าย หลีกเลี่ยงคำศัพท์เฉพาะทางหรือคำที่ซับซ้อนที่อาจทำให้ผู้ชมสับสน
- นำเสนอไอเดียเดียว : นำเสนอไอเดียที่สมบูรณ์และน่าสนใจเพียงหนึ่งเดียวใน 200 คำ หรือภายใน 2 นาที เพื่อให้ผู้ชมไม่รู้สึกว่าเนื้อหามากเกินไป
- ใช้ Bullet Points และ Lists : ใช้สัญลักษณ์ Bullet หรือลำดับเลข เพื่อให้ข้อมูลเข้าใจง่ายเเละรวดเร็ว
2. เพิ่มความน่าสนใจด้วยภาพ
- ใช้ภาพที่ดึงดูดสายตา : ภาพที่น่าสนใจหรือกราฟิกที่สะดุดตาช่วยให้เนื้อหาของคุณโดดเด่น
- เลือกภาพที่เสริมข้อความ : เลือกภาพที่เข้ากับข้อความและช่วยเสริมให้ข้อความนั้นชัดเจนยิ่งขึ้น
3. สร้างความเชื่อมโยงทางอารมณ์
- ใช้เรื่องเล่า : ผสมผสานเรื่องราว ประสบการณ์ที่เกี่ยวข้อง หรือสถานการณ์ที่กระตุ้นอารมณ์ เพื่อทำให้เนื้อหาน่าจดจำและน่าสนใจยิ่งขึ้น
- กระตุ้นอารมณ์ : ไม่ว่าจะเป็นอารมณ์ขัน แรงบันดาลใจ หรือความอยากรู้อยากเห็น การกระตุ้นอารมณ์สามารถเพิ่มการมีส่วนร่วมได้อย่างมาก
4. ใช้ Call-to-Action ที่เหมาะสม
- กระตุ้นการมีส่วนร่วม : แม้ในเนื้อหา Zero-Click คุณยังสามารถเพิ่ม Call-to-Action (CTA) ที่กระตุ้นให้เกิดการมีส่วนร่วมได้
- ใช้คำถามที่น่าสนใจ : ตั้งคำถามที่กระตุ้นความคิดหรือเชิญชวนให้แสดงความคิดเห็น
5. ปรับปรุง SEO ให้เหมาะสม
- ใช้ Structured Data : ใช้ Markup Schema เพื่อช่วยให้ Search Engine เข้าใจเนื้อหาของคุณเเละนำเสนอได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
- ตอบคำถามที่พบบ่อย : สร้างส่วน FAQ เพื่อตอบคำถามที่ผู้คนมักค้นหา เพื่อเพิ่มโอกาสในการแสดงผลใน Featured Snippets
6. สร้าง Content ให้ตรงกับ Platform
- เลือก Platform ที่เหมาะสม : ออกแบบเนื้อหาให้เหมาะสมกับ Platform ที่จะเเชร์ ไม่ว่าจะเป็น LinkedIn, Instagram หรือ X (Twitter)
- ใช้ประโยชน์จาก Long-Form Content : ในบาง Platform อย่าง LinkedIn คุณสามารถสร้าง Post ที่เป็น Long-Form หรือเเชร์เป็น Carousel ได้
7. ปรับปรุงและแก้ไขเนื้อหาอย่างสม่ำเสมอ
- แก้ไขเนื้อหาให้กระชับ : ตรวจสอบและแก้ไขเนื้อหาอย่างละเอียด เพื่อให้ทุกคำมีความหมายและไม่เยิ่นเย้อ
- อัปเดตเนื้อหา : ตรวจสอบให้เเน่ใจว่าเนื้อหาทันสมัยเเละถูกต้องอยู่เสมอ
การผสมผสานเทคนิคทั้ง 7 ข้อ นี้ จะช่วยให้คุณสร้างเนื้อหา Zero-Click ที่มีประสิทธิภาพ ดึงดูดความสนใจ และสร้างการมีส่วนร่วมได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ความท้าทายของ Zero-Click Marketing

1. ปริมาณการเข้าชมเว็บไซต์ลดลง
2. การแข่งขันที่เพิ่มขึ้น
3. ปัญหาความเป็นเจ้าของเนื้อหา
4. การวัดผลตอบแทนจากการลงทุน
5. การปรับตัวให้เข้ากับอัลกอริทึมที่เปลี่ยนแปลงไป
กลยุทธ์สำคัญ ในการปรับตัว
- ปรับเนื้อหาให้เหมาะกับ Featured Snippets
- มุ่งเน้นที่การรับรู้แบรนด์
- เปลี่ยนไปใช้ตัวชี้วัดการมีส่วนร่วม
- ใช้ประโยชน์จากแพลตฟอร์มอื่น
- นำเนื้อหาวิดีโอมาใช้
- ให้ความสำคัญกับการเพิ่มประสิทธิภาพสำหรับอุปกรณ์พกพา