แฟนด้อม คืออะไร? เหตุใดหลายแบรนด์เลือกใช้ขับเคลื่อนธุรกิจ

ด้อม (Fandom)

ในโลกที่เชื่อมต่อถึงกันอย่างไร้พรหมแดน ทุกวันนี้แบรนด์ต่างๆ ล้วนต้องหาวิธีการใหม่ๆ ในการดึงดูดผู้บริโภคและขับเคลื่อนการเติบโตของธุรกิจอย่างต่อเนื่อง ซึ่งมีกลยุทธ์การตลาดหนึ่งที่หลายแบรนด์นิยมใช้ขับเคลื่อนธุรกิจ คือ การตลาดแบบแฟนด้อม ซึ่งเน้นไปที่การสร้างความพึงพอใจให้แฟน ๆ ของแบรนด์ เป็นแนวทางการตลาดที่เจาะกลุ่มเป้าหมายไปยังผู้ที่หลงใหลและมีความรักอย่างเปี่ยมล้นให้กับ เซเลบ ดารา ศิลปิน หรือแม้แต่ตัวมาสคอตก็มีให้เห็นแล้วในปัจจุบัน

ด้อม คืออะไร?

ด้อม คืออะไร

ทำความเข้าใจ ด้อม คืออะไร?

ข้อมูลจาก สถาบันวิจัยความเป็นอยู่ Hakuhodo (Asian) หรือ ฮิลล์ อาเซียน” (HILL ASEAN) เคยกล่าวไว้ว่า “แฟนด้อม” หมายถึง กลุ่มคนที่มีความชื่นชอบในตัวบุคคลหรือสิ่งใดสิ่งหนึ่ง โดยมี Community ที่ใช้ในการพูดคุยติดต่อสื่อสารระหว่างกัน โดยพวกเขาพร้อมที่จะสนับสนุนศิลปินหรือบุคคลอันเป็นที่รักทั้งในรูปแบบของกิจกรรมต่างๆ หรือแม้แต่การใช้จ่าย ซึ่งอิทธิพลสำคัญที่ทำเทรนด์ของกลุ่มแฟนคลับเติบโต คือ ความเฟื่องฟูของสังคมโซเชียลมีเดียและความสนใจของผู้คนที่มีความเฉพาะเจาะจงมากขึ้นในปัจจุบัน ที่มาของคำว่า ด้อม หรือ แฟนด้อม (Fandom) คือ Fanclub + Kingdom เป็นการผสมรวมกันของกลุ่มแฟนๆ ของเหล่าคนดังกับคิงส์ดอม ที่แปลว่าอาณาจักร ในที่สุดก็รวมกันเป็น “อาณาจักรแห่งแฟนคลับ” หรือ ชุมชนของแฟนคลับโดยมีกลุ่มประชากร คือผู้ที่หลงใหลในตัวของผู้ที่มีชื่อเสียงทั้งหลายในวงการต่างๆ ทั้ง วงการบันเทิง วงการกีฬา วงการเกมเมอร์ เป็นต้น
 
อาจกล่าวได้ว่าการเป็นด้อมนั้นไม่ใช่แค่การเป็นแฟนของบางสิ่งบางอย่างเท่านั้น แต่ยังรวมถึงความรู้สึกถึงความสนิทสนมกันของกลุ่มที่เกิดจากความรู้สึกที่มีร่วมกันอีกด้วยสิ่งที่เราเห็นได้ชัด คือ ลักษณะเด่นทางวัฒนธรรมของคนเอเชียค่อนข้างใส่ใจในเรื่อง “การขับเคลื่อนทางสังคม” ซึ่งมีอิทธิพลต่อลักษณะเฉพาะของแฟนคลับ หลายๆ คนเข้าร่วมกลุ่มแฟนคลับเพื่อให้มี “ความรู้สึกเป็นเจ้าของ” (49.1%) พวกเขาใช้กลุ่มแฟนคลับเพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่แท้จริงซึ่งมีคนเคยกล่าวไว้ว่ากลุ่มแฟนคลับคือครอบครัวของพวกเขาซึ่งแสดงให้เห็นว่าความรู้สึกเป็นครอบครัวนั้นฝังแน่นทางวัฒนธรรมมากเพียงใดซึ่งหลักการของการของตลาดแบบแฟนคลับหรือแฟนด้อมนั้นทำความเข้าใจได้ไม่ยาก เพราะมันคือการเอาใจแฟนคลับเหนือสิ่งอื่นใด ดังนั้นแบรนด์ที่เลือกใช้กลยุทธ์นี้ต้องมีความจริงใจกับผู้บริโภคและขยันสร้างคอนเทนต์ที่สามารถต่อยอดได้เรื่อย ๆ ซึ่งการที่แบรนด์แสดงถึงความเข้าใจผู้บริโภคเป็นอย่างดีที่เป็นปัจจัยสำคัญทำให้บรรดาแฟนๆ อยากเป็นส่วนหนึ่งของแบรนด์มากขึ้นนั่นเอง

ตัวอย่างคนดังกับกลุ่มแฟนด้อมในไทย

คนดังกับกลุ่มแฟนด้อมในไทย

เมื่อพลังแห่ง ด้อม เติบโตขึ้นเรื่อยๆ จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่แบรนด์ต่างๆ จะหันมาใช้ประโยชน์จากฐานแฟนคลับของเหล่าคนดังให้เป็นประโยชน์ในการสื่อสารการตลาดด้วยการร่วมงานกับเหล่าเซเลบคนดัง  อินฟลูเอนเซอร์ ดารา ศิลปิน ที่มีฐานแฟนคลับขนาดใหญ่ที่อยู่กันเป็นด้อมที่เหนียวแน่นหนึบ โดยใช้กิจกรรมต่างๆ ดึงดูดการมีส่วนร่วมและสร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างแบรนด์กับฐานแฟนคลับของแต่ละด้อม เพื่อขับเคลื่อนยอดขายสินค้าและบริการตลอดจนภาพลักษณ์ของแบรนด์

ซึ่งหลักการของการของตลาดแบบแฟนคลับ หรือแฟนด้อมนั้น ทำความเข้าใจได้ไม่ยากครับเพราะมันคือการเอาใจแฟนคลับเหนือสิ่งอื่นใด ดังนั้นแบรนด์ที่เลือกใช้กลยุทธ์นี้ต้องมีความจริงใจกับผู้บริโภคและขยันสร้างคอนเทนต์ที่สามารถต่อยอดได้เรื่อย ๆ ซึ่งการที่แบรนด์แสดงถึงความเข้าใจผู้บริโภคเป็นอย่างดีที่เป็นปัจจัยสำคัญทำให้บรรดาแฟนๆ อยากเป็นส่วนหนึ่งของแบรนด์มากขึ้นนั่นเองต่อไปเรามาดูตัวอย่างของ เซเลบ ศิลปิน คนดัง ที่มีด้อม หรือกลุ่มแฟนด้อมเป็นของตัวเอง ตลอดจนความร่วมมือกับแบรนด์ต่างๆ ทั้งในฐานะ Presenter หรือ Brand Ambassador กันครับ

1. พี่จอง – คัลแลน

ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา กระแสความโด่งดังของ พี่จอง-คัลแลน 2 หนุ่มยูทูปเบอร์จากแดนกิมจินั้นมาแรงมาก ชนิดที่เรียกว่าเปิดโซเชียลมีเดียแพลตฟอร์มไหนเราก็มักจะเจอหนุ่มคัลแลนพาไปเที่ยวในที่ต่างๆ ทั่วไทย ทั้งภาคเหนือ กลาง ใต้ อีสาน ซึ่งแต่ละคลิปพี่จองมักจะชอบพูดคำว่า “ใจฟู” เวลาที่เห็นสถานที่สวยงามหรือตอนที่ได้กินของอร่อยๆ จนนำไปสู่การถือกำเนิดของ “ด้อมใจฟู” ในที่สุด ด้วยเสน่ห์ดึงดูดใจแฟนคลับกับการพูดภาษาไทยเกือบทั้งคลิป รวมทั้งในรายของพี่จองที่มักจะพูดภาษาไทยผิด ๆ ถูก จึงสร้างความเอ็นดูให้กับแฟนๆ ได้ไม่น้อย โดยปัจจุบันยอดผู้ติดตามช่องยูปทูปของสองหนุ่มนั้นทะลุหนึ่งล้านซับไปแล้ว ซึ่งล่าสุด AIS ไม่รอช้าคว้าตัวทั้งคู่เป็นพรีเซนเตอร์คนใหม่ของ AIS5G เป็นที่เรียบร้อย เรียกได้ว่าน่าจะกวาดเอาด้อมใจฟูเข้ามาเป็นครอบครัวเดียวกันได้ไม่น้อย

 

2.  เป๊ก ผลิตโชค 

 
ชาวนุช หรือกลุ่ม “ด้อมนุช” เป็นชื่อเรียกของบรรดาแฟนคลับที่มอบความรักให้กับ “เป๊ก-ผลิตโชค อายนบุตร” อย่างหมดหัวใจ และพร้อมเสมอที่จะเป็นเสมือนลมใต้ปีกที่คอยสนับสนุนหนุ่มเป๊กในทุกสถานการณ์ อย่างไรก็ตามพวกเขาเป็นมากกว่าแฟนคลับ เพราะเหล่าด้อมนุชใส่ใจสังคมและสร้างคุณประโยชน์ให้กับส่วนรวมมากกว่าการติดตามศิลปินทั่วไป ยกตัวอย่างเมื่อครั้งเกิดเหตุอุทกภัยที่จังหวัดอุบลราชธานีเป๊กและด้อมนุชก็ได้รวบรวมเงินบริจาคเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม เป็นเงินกว่า 2,000,000 บาท เลยทีเดียวซึ่งหากจะพูดถึงความคลั่งไคล้ในตัวหนุ่มเป๊กนั้นไม่ธรรมดา เมื่อคราวที่เป๊กเข้าร่วมการแข่งขันในรายการ The Mask Singer ภายใต้หน้ากากจิงโจ้ หลายคนโดนหนุ่มเป๊กตกโดยไม่รู้ตัวตั้งแต่ยังไม่รู้ว่าภายใต้หน้ากากนั้น คือ ใคร เรียกได้ว่าเป็นความรักที่ก่อตัวขึ้นตั้งแต่ยังไม่รู้จักกันเลยทีเดียว และเชื่อว่าความรู้สึกของเหล่าด้อมนุชที่เหมือนกัน คือ การไม่หวังอะไรในตัวเป๊ก แค่ขอได้เห็นเป๊กมีความสุขในทุกๆ วันก็พอ
 
นอกจากนี้ เมื่อคราวที่หนุ่มเป๊กล้มป่วย ชาวด้อมนุชนับพันต่างก็พร้อมใจอวยพรให้หนุ่มเป๊กหายไวๆ พร้อมติดแฮชแท็ก #GetWellSoonPalit บนทวิตเตอร์ จนสามารถพุ่งขึ้นติดเทรนด์ทวิตในตอนนั้นเลยทีเดียว ซึ่งหนุ่มเป๊กได้ผ่านการร่วมงานกับแบรนด์ต่างๆ มากมาย อาทิ AIS,Lay’s,CP,SCB,C-Vitt,Nestle,Ducth Mill,โก๋แก่,Cathy Doll และ ล่าสุดกับ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) 
 

3.  Butterbeer (น้องหมีเนย) 

น้องเนย มาสคอตหมีน้อยประจำร้าน Butterbear Cafe ได้สร้างปรากฏการณ์ห้างแตก (Emsphere) จากการที่ด้อมน้องเนยยืนรอต่อคิวเพื่อได้กระทบไหล่ถ่ายรูปคู่กันตั้งแต่เช้ามืด ซึ่งแม้ว่าน้องหมีเนยจะไม่ใช่มนุษย์เหมือนกับเซเลบคนดังทั่วไป แต่เหล่าแฟนๆ ของน้อง หรือกลุ่ม “ด้อมน้องเนย” ไม่คิดเช่นนั้น เพราะสำหรับพวกเขาแล้วน้องหมีเนยคือน้องสาวที่รักไม่ว่าจะทำอะไรก็น่าเอ็นดูไปหมด  แต่ก่อนที่จะโด่งดังได้อย่างทุกวันนี้ น้องหมีเนยเคยเป็นเพียงมาสคอตโนเนมที่ต้องเดินไปเดินมาหน้าร้านแบบเหงาๆ จนกระทั้งในช่วงวันเด็ก ทางร้านได้พาน้องเนยไปออกงาน

 
ซึ่งตอนนั้นน้องได้โชว์ท่าเต้นประกอบเพลงทั้ง K-Pop และ T-Pop หลังจากนั้นคลิปการเต้นของน้องก็ได้ถูกแชร์ลงแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียต่างๆ จนในที่สุดก็กลายเป็นกระแสโด่งดังขึ้นมา ซึ่งน้องเนยไม่ได้มีชื่อเสียงโด่งดังแค่ในประเทศไทยเท่านั้น แต่ยังโดนใจติ่งชาวจีนและเกาหลีใต้ นับแสนๆ คน ที่หลงใหลในความน่ารักของน้องเนย เรียกได้ว่าแบรนด์ Butterbear Cafe ประสบความสำเร็จอย่างสูงจากการสร้างแบรนด์ด้วยมาสคอตให้ทำหน้าที่เสมือน Brand Ambassador รวมถึงสามารถสร้างการเชื่อมต่อกับฐานแฟนคลับของน้องเนยได้ปังมากๆ ด้วยกลยุทธ์การตลาดที่แข็งแกร่ง
 

ข้อควรรู้ใช้กลยุทธ์แฟนด้อม

ข้อควรรู้ก่อนใช้กลยุทธ์ Fandom
แฟนคลับได้ขยายขอบเขตมากกว่าแค่แบรนด์หรือผลิตภัณฑ์ไปสู่วิถีชีวิต ความรู้สึกอันแรงกล้าที่มีต่อบุคคลอันเป็นที่รักทำให้ธุรกิจการตลาดที่เกี่ยวข้องกับแฟนคลับเป็นสิ่งที่ค่อนข้างท้าทาย แม้ว่าแบรนด์แนวไลฟ์สไตล์ต่างๆ จะมีศักยภาพสูงกับการจับตลาดแฟนด้อม แต่การรู้วิธีรับมือกับความเสี่ยงเป็นสิ่งสำคัญมาก ที่สำคัญนักการตลาดจำเป็นต้องเข้าใจวงจรชีวิตที่เป็นเอกลักษณ์ของแฟนคลับ
 
นอกจากนี้ นักการตลาดควรทราบถึงความเสี่ยงที่มาพร้อมกับการเชื่อมโยงกับผู้บริโภคที่เข้มข้นในเรื่องของ Emotional แฟนคลับสามารถมอบความคุ้มค่าได้เมื่อนักการตลาดรู้วิธีเชื่อมต่อกับพวกเขา แม้ว่าความภักดีของแฟนๆ อาจเป็นผลเชิงบวกแต่ก็อาจเป็นความเสี่ยงได้เช่นกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคที่มีการแบ่งขั้วในปัจจุบัน เรียกได้ว่ามีเส้นแบ่งบางๆ ระหว่าง Super Fandom ในฐานะสินทรัพย์และความเสี่ยงเมื่อพูดถึงศักยภาพในการคว่ำบาตรหรือความโกรธเคืองบนโซเชียลมีเดีย ดังนั้นมีสิ่งที่ทุกแบรนด์ควรต้องตระหนักก่อนเลือกใช้กลยุทธ์แฟนด้อม ได้แก่
 

1. ต้องสร้างความสัมพันธ์ที่แท้จริง

  • การมีส่วนร่วมอย่างจริงใจ : แบรนด์ควรมุ่งเป้าไปที่การเชื่อมโยงอย่างแท้จริงกับแฟนคลับ แทนที่จะมองว่าเป็นเพียงช่องทางการตลาด ซึ่งเกี่ยวข้องกับการปรับคุณค่าของแบรนด์ให้สอดคล้องกับความสนใจและแรงบันดาลใจของแฟนๆ ส่งเสริมความรู้สึกของการสร้างสรรค์ร่วมกันและเป้าหมายร่วมกัน
  • ความมุ่งมั่นระยะยาว : การสร้างความไว้วางใจทำให้แบรนด์ต้องมุ่งมั่นที่จะเป็นพันธมิตรระยะยาวกับแฟนคลับ ซึ่งหมายความว่ามีความสม่ำเสมอในการสนับสนุนความคิดริเริ่มของแฟนๆ และตอบสนองความต้องการและแรงบันดาลใจของพวกเขา แทนที่จะดำเนินการตามกลยุทธ์การโปรโมตระยะสั้น

2. ควรส่งเสริมการไม่แบ่งแยก

  • การไม่แบ่งแยก : แฟนด้อมเติบโตด้วยความรู้สึกเป็นเจ้าของ แบรนด์ควรสร้างสภาพแวดล้อมที่เป็นมิตรซึ่งส่งเสริมการมีส่วนร่วมจากสมาชิกทุกคน รวมถึงผู้ที่อาจรู้สึกว่าถูกกีดกันภายในกลุ่มแฟนคลับ 
  • โอกาสในการเสริมพลัง : การจัดหาช่องทางให้แฟนๆ ได้มีส่วนร่วมอย่างสร้างสรรค์และร่วมมือกันสามารถเพิ่มความภักดีของพวกเขาได้ ซึ่งอาจเกี่ยวข้องกับการเชิญแฟนๆ ให้เข้าร่วมในการอภิปรายหรือความคิดริเริ่มเกี่ยวกับแบรนด์ ซึ่งทำให้พวกเขารู้สึกเหมือนเป็นส่วนสำคัญของการเดินทางของแบรนด์

3. เข้าใจผลกระทบทางเศรษฐกิจ

  • ตระหนักถึงอิทธิพลทางเศรษฐกิจ : อำนาจทางเศรษฐกิจของแฟนคลับ เช่น กลุ่มแฟนคลับ K-pop ถือเป็นตัวอย่างที่สำคัญ แบรนด์ควรตระหนักถึงผลกระทบทางการเงินจากการมีส่วนร่วมกับชุมชนเหล่านี้ เนื่องจากแฟนๆ มักจะเต็มใจที่จะลงทุนจำนวนมากในแบรนด์ที่สนับสนุนความสนใจของพวกเขา 
  • หลีกเลี่ยงการแสวงหาผลประโยชน์ : แบรนด์ต้องระมัดระวังไม่แสวงหาผลประโยชน์จากแฟนคลับเพื่อหากำไรโดยไม่ได้ให้คุณค่าเป็นการตอบแทน หรือทำในสื่งที่เรียกว่า Hard sale จนเกินงาม เพราะสิ่งนี้สามารถนำไปสู่ความเสียหายต่อชื่อเสียงของแบรนด์ ทางที่ดีแบรนด์ควรมุ่งเน้นไปที่การสร้างความสัมพันธ์ที่เป็นประโยชน์ร่วมกันซึ่งจะช่วยยกระดับประสบการณ์ของแฟนๆ

ด้วยการปฏิบัติตามข้อควรระวังเหล่านี้ แบรนด์ต่างๆ จะสามารถมีส่วนร่วมกับแฟนๆ ในเอเชียได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยส่งเสริมความสัมพันธ์ที่มีความหมายซึ่งสอดคล้องกับตัวตนและแรงบันดาลใจของแฟนๆ

 

บทความแนะนำ

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *