เราเชื่อว่าหลายๆ ร้านค้าที่อยู่บนโลกออนไลน์ หรือค้าขายผ่านแพลตฟอร์มโซเชียลต่างๆ ได้เริ่มต่อยอดธุรกิจไปในทางอีคอมเมิร์ซอย่าง Shopee มากยิ่งขึ้น ด้วยแคมเปญแจกส่วนลดให้กับลูกค้าที่น่าดึงดูด ระบบการจัดการสต็อกสินค้าที่ช่วยลดเวลาในการทำบัญชีเอง ซึ่งลูกค้าของ Talka เราเองก็มีหลายๆ เจ้าที่ทำให้เราดูแลร้านค้าบน Shopee เองเช่นกัน
ดังนั้นวันนี้เราเลยจะมาแชร์ความรู้ดีๆ สำหรับหลายๆ ธุรกิจที่สนใจและกำลังมองหาแพลตฟอร์มที่จะช่วยต่อยอดธุรกิจของคุณสู่โลกอีคอมเมิร์ซมากยิ่งขึ้นอย่าง Shopee ซึ่งเรียกว่าตอบโจทย์เป็นอย่างมาก สำหรับช่วงนี้ที่พวกเราใช้เวลาส่วนมากในการอยู่บ้านนั้นเอง
เปิดร้านบน Shopee ดีอย่างไร
เริ่มต้นด้วยการทำความรู้จักกันก่อนว่า การเปิดร้านค้าบน Shopee ดีต่อธุรกิจของคุณอย่างไรบ้าง?
- เข้าถึงลูกค้าจำนวนมาก – จากทุกพื้นที่ทั่วประเทศ เพิ่มโอกาสให้กับร้านของคุณได้เป็นที่รู้จักและเข้าถึงได้มากขึ้นในวงกว้าง
- ขายได้ทุกที่ทุกเวลา – ผ่านแอปพลิเคชันชอปปี้บนมือถือ สามารถดูยอดขาย ตอบแชท จัดการสต็อกสินค้า ดูข้อมูลเชิงลึก ได้สะดวกทุกที่ ทุกเวลา
- ได้รับเงินแน่นอน – ด้วยระบบการชำระเงินที่ปลอดภัย ทำให้หลายๆ คนที่กำลังวลเรื่องการโอนเงิน หรือสลิปปลอมต่างๆ หายห่วงได้เลย
- จัดการง่าย – มีระบบจัดการออเดอร์และการขนส่ง ที่ช่วยให้เราสามารถเรียงลำดับและจัดการออเดอร์ได้ง่ายมากขึ้น เพื่อลดความผิดพลาด
- สิทธิพิเศษสำหรับร้านค้าเปิดใหม่ – ทาง Shopee จะมีสิทธิอย่าง ค่าธรรมเนียน 0%, โค้ดส่วนลดสำหรับแจกลูกค้า และทีมงานที่สร้างร้านค้า คอยดูแลให้ ภายในระยะเวลาที่ได้กำหนเไว้ หรือประมาณ 1 เดือน
- มีคอร์สเรียนออนไลน์ ที่คุณสามารถเข้าไปนั่งเรียนทุกๆ ขั้นตอนในการขายของบนแพลตฟอร์ม Shopee
Checklist สิ่งที่ต้องเตรียมก่อนเปิดร้านค้าบน Shopee
- ชื่อร้านค้าที่ต้องการใช้ใน Shopee + รูปโลโก้
- เบอร์ที่ต้องการใช้ในการสร้างบัญชีร้านค้า
- จำนวนสต็อกสินค้า ต่อสี ต่อแบบ
- หน้าสมุดบัญชีธนาคารที่ต้องการโอนเงินจาก Shopee ไปยังบัญชีของเรา
- รูปภาพสินค้าที่สวยงาม เห็นชัดเจน หลายมุม หรือหากสินค้าชิ้นนั้นมีหลากตัวเลือกอย่าง สี ขนาด จะต้องมีรูปภาพแยกรายชิ้นด้วยค่ะ
- ชื่อสินค้า + Keyword ของสินค้า เพราะจะช่วยในเรื่อง
- คำบรรยาย หรือคำอธิบายรายละเอียดสินค้า
- ขนาดของกล่องที่บรรจุเพื่อทำการส่ง กว้าง x ยาว x สูง
- น้ำหนักของสินค้ารวมหีบห่อต่างๆ
ขายของบน Shopee มีค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง
การขายของบน Shopee มีไม่ค่าใช้จ่ายค่ะ แต่จะมีการคิดเป็นค่าธรรมเนียม หรือค่าธุรกรรมการชำระเงินแทน ซึ่งค่าธุรกรรมการชำระเงิน คือ ค่าบริการที่เรียกเก็บจากผู้ขาย เมื่อผู้ซื้อ ซื้อสินค้าผ่าน Shopee โดยจะมีการเรียกเก็บก็ต่อเมื่อเป็น “คำสั่งซื้อที่สำเร็จเท่านั้น” หรือขายได้แล้วถึงจะเสียค่าใช้จ่ายนี้ค่ะ ซึ่งจะอยู่ที่ 3% จากยอดชำระของคำสั่งซื้อบวกค่าขนส่งสินค้าที่ผู้ซื้อชำระเงิน ซึ่งมีผลตั้งแต่ 1 พฤศจิกายน 2564 เป็นต้นไป
อยากเข้าร่วมแคมเปญกับ Shopee ต้องทำอะไรบ้าง
หากคุณอยากเข้าร่วมแคมเปญดังกับ Shopee สามารถทำตามได้ดังต่อไปนี้
- มียอดคำสั่งซื้อขั้นต่ำ เหมาะกับราคาสินค้าในร้านและแคมเปญที่เข้าร่วม
- ส่วนลดอยู่ที่ 5-15% *ทางร้านค้าเป็นคนจ่าย
- ส่วนลดสูงสุด ไม่น้อยกว่า 10% ของราคาเฉลี่ยน หรือไม่น้อยกว่า ยอดซื้อขั้นต่ำ x ส่วนลด (%)
- จำนวนโค้ดที่ทางร้านสามารถให้ลูกค้าได้อย่าง 50 โค้ด
- โค้ดจะต้องใช้ได้กับสินค้าทุกชิ้นในร้าน
- วันที่เก็บโค้ด ควรเลือกภายในระยะเวลาแคมเปญที่ทางระบบกำหนด (ไม่สามารถเลือกตั้งเวลาเก็บโค้ดล่วงหน้าได้)
- เมื่อตัดสินใจร่วมแคมเปญแล้วไม่สามารถยกเลิกได้
การเริ่มต้นทำธุรกิจบนแพลตฟอร์มบน Shopee ไม่ยากอย่างที่คิดกันเลยใช่ไหมคะ ซึ่งในตอนเริ่มต้นจะมีทีมงานของ Shopee ที่ทำการเปิดร้านค้าให้และคอยให้คำปรึกษากับแต่ละร้านค้า เพื่อให้ร้านค้าต่างๆ สำหรับตั้งตัวได้ไปจนถึงการได้ออเดอร์แรก ซึ่งความยากของการทำธุรกิจบน Shopee นั้นไม่ใช่การเริ่มต้นค่ะ แต่เป็นระหว่างทางที่ไม่มีสิทธิพิเศษต่างๆ จากทาง Shopee แล้วร้านของเราจะต้องวางกลยุทธ์อย่างดี
เพราะแน่นอนค่ะ เรามองเห็นโอกาสในการต่อยอดธุรกิจบนแพลตฟอร์ม ซึ่งคนอื่นๆ ก็เห็นเช่นกัน ดังนั้นหากใครที่ต้องการคำปรึกษา หรือต้องการช่วยเหลือในการทำการตลาดต่างๆ สามารถติดต่อทาง Talka ได้เลยค่ะ
แหล่งที่มา